Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7466
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorหทัยชนก รัตโน, 2532--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-07T06:56:59Z-
dc.date.available2023-07-07T06:56:59Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7466-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของความตั้งใจเชิงพฤติกรรม ในการซื้อ เครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร (2) ระดับของทัศนคติและการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิง ในการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) อิทธิพล ของทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการซื้อเครื่องสำอาง ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เคยมีประสบการณ์ ซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จากสมาชิกในกลุ่มที่ตั้งขึ้นในสื่อสังคมออนไลน์ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อซื้อขายเครื่องสำอางโดยเฉพาะ มีสัญชาติไทย และอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร สุ่ม ตัวอย่างแบบตามสะดวก กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน ได้จำนวน 369 ตัวอย่าง เก็บ ข้อมูลด้วยแบบสอบถามระบบออนไลน์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวัด ระดับทัศนคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และความตั้งใจเชิงพฤติกรรม และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคุณ เพื่อวัดอิทธิพลและการคล้อยตามกลุ่มตัวอย่างที่มีผลต่อความตั้งใจ เชิงพฤติกรรมในการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นของความตั้งใจเชิงพฤติกรรมใน การซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับของทัศนคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) อิทธิพลของทัศนคติ และการคล้อยตาม กลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลในทิศทางบวกกับความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 43.9 (R2 = .439)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเครื่องสำอาง -- การจัดซื้อth_TH
dc.subjectการซื้อสินค้าทางออนไลน์ -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.titleอิทธิพลของทัศนคติ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง ที่มีต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการซื้อเครื่องสำอางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeInfluence of attitude and subjective norms on behavior intention in cosmetic product via social media in Bangkokth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were: (1) to study the level of behavior intention in cosmetic product via social media in Bangkok; (2) to study the level of attitude and subjective norms in cosmetic product via social media in Bangkok; and (3) to study the influence of attitude and subjective norms on behavior intention in cosmetic product via social media in Bangkok. This research was a quantitative research. The population was internet users who have an experience to buying cosmetic products selected from member in groups that aim for buying and selling cosmetic products, Thai nationality, and living in Bangkok. Sampling method with convenience sampling was applied. The sample size determined by W.G Cochran’s method was 369 respondents. On-line questionnaire was used to collect data via social media such as Facebook, Line, and Instagram. Descriptive Statistics was used in the analysis including percentage, mean, standard deviation to measure the level of attitude subjective norms and behavior intention in cosmetic product via social media; while, Inferential Statistics by multiple regression was used to measure the influence of attitude and subjective norms on behavior intention in cosmetic product via social media. The result of the study revealed that: (1) the sample sizes have a level of behavior intention in cosmetic product via social media in Bangkok at moderate levels; (2) the sample sizes have a level of attitude and subjective norms in cosmetic product via social media in Bangkok at high levels; and (3) attitude and subjective norms had a positive influence with behavior intention in cosmetic product via social media in Bangkok by 43.9 % (R2 = .439)en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158669.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons