Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7473
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorพนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวัชรินทร์ จุลเอียด, 2527--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-10T00:38:23Z-
dc.date.available2023-07-10T00:38:23Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7473-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วย จรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไปปฏิบัติในสำนักงานที่ดินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (2) ศึกษา ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไปปฏิบัติ (3) เสนอแนะแนวทางในการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไป ปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้ แบบสอบถามเก็บจากบุคลากรของสำนักงานที่ดิน ได้แก่ ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างของ สำนักงานที่ดินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 15 หน่วยงาน รวม 273 คน คำนวณหาขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 162 คน และกลุ่มที่สองใช้แบบสัมภาษณ์ สัมภาษณ์เจาะจงเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด รวม 3 คน สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การ ทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยเทคนิคสวอท และจำแนกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า (1) ระดับความสำเร็จของการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วยจรรยาข้าราชการ กรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไปปฏิบัติมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำข้อบังคับ กรมที่ดินว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ไปปฏิบัติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านความชัดเจนของจรรยาข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ปัจจัย ด้านกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม ค่านิยมใหม่ของข้าราชการ และปัจจัยด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ (3) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยดังนี้ ด้านการให้บริการบุคลากรควรมีการเรียนรู้ภาษามลายูท้องถิ่น ด้านนโยบาย ควร จัดให้มีการฝึกอบรมเรื่องจรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ. 2552 ด้านอัตรากำลัง ควรส่งเจ้าหน้าที่มาปฏิบัติงานใน พื้นที่ให้เต็มกรอบอัตรากำลัง ด้านคุณธรรมจริยธรรม บุลากรผู้มีคุณธรรมจริยธรรมดีเด่นควรได้รับการยกย่อง จากองค์กรด้านการประชาสัมพันธ์ ควรประชาสัมพันธ์งานนโยบายเร่งด่วนของกรมที่ดินในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectกรมที่ดิน -- ข้าราชการและพนักงาน -- จรรยาบรรณth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำข้อบังคับกรมที่ดินว่าด้วยจรรยาข้าราชการกรมที่ดิน พ.ศ.2552 ไปปฎิบัติ : ศึกษากรณีสำนักงานที่ดินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeFactors Influencing the achievement of implementation in regulation of ethical officer in Department of Lands, B.E. 2552 : a case study of land office in Three Southern border Provinces of Thailandth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study level of achievement of implementation in regulation of ethical officer in Department of Lands, B.E. 2552 in three southern border Provinces (2) to study factors influencing the achievement of implementation in regulation of ethical officer in Department of Lands, B.E. 2552 (3) to recommend guidelines for more success in implementing in regulation of ethical officer in Department of Lands, B.E. 2552 in three southern border Provinces. This research was a mixed method research. Divided into two groups, first group the data collection by using a questionnaire employed governmental officers and temporary officers working for 15 offices under the Department of Lands in three southern border Provinces. Population was 273 officers. Sample size was 162 which were determined by using TaroYamane formula. Sampling method was stratified sampling. Second group use in-depth interview, the researcher selected 3 key informants by using purposive sampling method. Statistics for data analysis employed frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test by One-way ANOVA, and stepwise multiple regression analysis, meanwhile SWOT analysis and typological analysis were used to analyze qualitative data. The results showed that (1) level of achievement of implementation in regulation of ethical officer in department of lands, B.E. 2552 was higher than 80 percent, and (2) factors influencing the achievement of implementation in regulation of ethical officer in department of lands, B.E. 2552 at 0.05 statistically significance were the clarity of ethics of governmental officers according to civil service act,B.E. 2551, I AM READY and policy implementation. (3) The recommendations were; for service providing aspect, officers should learn local Malay language, for policy aspect, the office should organize a training course on Regulation of Ethical Officer in Department of Lands, B.E. 2552, for manpower aspect, the offices in local areas should be fulfill, for ethics aspect, officers with distinguished ethics should be honored, and lastly for public relations, the offices should publicize policy of the Department of Lands regularlyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160540.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons