Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7477
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorจีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเมตตา เหร่เด็น, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-10T01:26:09Z-
dc.date.available2023-07-10T01:26:09Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7477-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่มี อิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ (2) ศึกษาปัจจัยจูงใจที่มี อิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ และ (3) ศึกษาปัญหา และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ ให้มี ความเป็นเลิศ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ก) บุคลากรสังกัด สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ จำนวน 401 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน ได้ จำนวน 210 คน ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิแบ่งสัดส่วน และ ข) ประชากรสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์ เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานตามพันธกิจและเกณฑ์การประเมิน คุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน สถาบันการพลศึกษา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่มีอิทธิพลต่อความ เป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ คือ ปัจจัยด้านผลลัพธ์การดำเนินการ ได้แก่ การตรวจสอบผลการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของบุคลากร ทุกระดับ และปัจจัยด้านการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ (2) ปัจจัยจูงใจที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของ บุคลากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ คือ สถานภาพของอาชีพที่มีความมั่นคง ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน การได้รับการยอมรับนับถือและโอกาสที่ได้รับความก้าวหน้าในอนาคต และ (3) ปัญหาที่พบ คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ได้แก่ ขาดบุคลากรด้านการสอนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารงานวิจัย ยังขาดระบบรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ด้านบริการวิชาการ ยังขาดแผนการให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาชุมชน และด้านบริหารจัดการ ได้แก่ สถาบันต้องปฏิบัติตามยุทธศาสตร์และนโยบายของสถาบันการพลศึกษาที่กาหนดจาก ส่วนกลางทำให้เป็นอุปสรรคต่อการกา หนดทิศทางการปฏิบัติงานด้วยตนเอง ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข คือ ด้าน การผลิตบัณฑิต คือ ควรพัฒนาให้อาจารย์ได้ดำรงตา แหน่งทางวิชาการและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ด้านระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ ควรจัดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศงานวิจัยให้ทันสมัยและเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ด้านบริการวิชาการ คือ ควรสำรวจความต้องการของชุมชน และด้านบริหารจัดการ คือ ควรผลักดันให้ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ สามารถบริหารยุทธศาสตร์ขององค์การได้ด้วยตนเองth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคใต้ -- การบริหารth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการพัฒนาองค์การ -- การจัดการth_TH
dc.titleการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่มีอิทธิพลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตภาคใต้th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of public sector management quality influencing the personnel performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Regionth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aimed (1) to study factors in the development of public sector management quality influencing the personnel performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Region (2) to study motivation factors influencing the personnel performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Region, and (3) to study problems and recommended ways to develop personnel performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Region. This research was a survey research. The population was divided into two groups: a) 401 personnel of the Institute of Physical Education in the South Campus Region which samples size were determined by using Taro Yamane formula and obtained totally 210 samples with stratified sampling method, and 2) population for a focus group and in-depth interview, which the researcher interviewed from 16 executives who were involved with the performance and educational quality assurance criteria. Research tools were an in-depth interview and a structured questionnaire. Statistics for data analysis comprised of frequency, mean, percentage, standard deviation, multiple regression and content analysis. The resulted showed that (1) factors in the development of public sector management quality influencing the personnel performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Region were the result factor that was the implementation evaluation should align with the criteria of performance excellence (2) motivation factors influencing the performance excellence of Institute of Physical Education in the South Campus Region were career security, career achievement, respect and career advancement, and (3) problems were graduates production that was the qualifications of some lecturers did not meet the criteria, modern technology installation that was the inefficient and incomprehensive information technology system for research management, academic service that was unclear academic service plans to strengthen the community and lastly, the administration that was the Institute had to follow strategic plans and policy formulated from the main campus strictly and this became an important obstacle for self-management. Recommendations were the South Campus should support all lecturers for higher education and higher academic position, install modern and advance research information technology for more efficient data collection, survey the needs for academic service for further analytical plan, identify culture preservation projects in the organization plan and allocate appropriate budget and promote for self-management role of the South Campusen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160959.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons