กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7497
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการซื้อนมยู.เอช.ที.ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Purchasing behavior of U.H.T. Milk Product in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราณี อยู่อุดมสุข, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
น้ำนม
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง "พฤติกรรมการซื้อนม ยูเอช.ที.ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร" มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนประสมทางการตลาด และคุณลักษณะของนม ยูเอช.ที.ตามการรับรู้ของผู้บริโภค ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อนม ยู.เอช.ที. นอกจากนี้ยังศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีสำรวจส่วนประชากรคือผู้ซื้อนม ยู.เอช.ที.ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-30 ปี สถานภาพโสดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 5,000 - 10,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในบ้าน 4-6 คน สำหรับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมได้แก่ คุณประโยชน์จากสารอาหาร ราคาถูกเมื่อซื้อยกแพ็ค หาซื้อได้ง่ายตามดิสเคาน์สโตร์ การจัดรายการส่งเสริมการขายด้วยวิธีการลดราคา คุณลักษณะของนม ยู.เอช.ที.ตามการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีผลต่อพฤติกรรมคือสามารถให้คุณประโยชน์ที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน ข้อมูลด้านพฤติกรรมการซื้อนม ยู.เอช.ที.ของผู้บริโภค ส่วนใหญ่ซื้อดื่มร่วมกับคนในครอบครัว โดยคำนึงถึงคุณประโยชน์จากสารอาหาร เป็นนมวัว ประเกทนมสด ยู.เอช.ที.ไขมันต่ำ/แคลเซียมสูง รสจืด ยี่ห้อโฟร์โมสต์ ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคือ ตนเอง โดยมีความถี่ในการซื้อ 1-2 ครั้งสัปดาห์ ครั้งละ 7-12 กล่อง ส่วนใหญ่ซื้อที่ดิสเคาน์สโตร์หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต ในวันจันทร์-วันพฤหัสบดี เวลา 18.01-21.00 น. เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อาชีพแตกต่างกัน มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลอื่นๆ มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_127381.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.99 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons