กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7515
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการวางแผนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of management administration capabilities with regard to planning of the office of Uttaradit Educational service area 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิรัช วิรัชนิภาวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิรินทร์ ธูปกล่ำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัฒชรา คำภู่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --วิทยานิพนธ์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1--การบริหาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1--การวางแผน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษา(1) ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้าน การวางแผนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 (2) การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหาร จัดการด้านการวางแผนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์เขต 1 และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญ ทำให้การพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการวางแผนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุตรดิตถ์เขต 1 ประสบผลสำเร็จ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามซึ่งผ่านการทดสอบรวมทั้งการหาค่าความ เที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามที่ระดับ 0.91 สำหรับกลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรดิตถ์ เขต 1 รวม 1,046 คนเก็บรวบรวม แบบสอบถามคืนมาได้ 994 ชุด คิดเป็นร้อยละ 90.25 ของกสุ่มตัวอย่างทั้งหมด สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์แนวลึกเฉพาะ ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาที่สำคัญคือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรดิตค์เขต 1 เปิด โอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนของสถานศึกษาไม่มากเท่าที่ควร (2) การพัฒนา ขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการวางแผนที่สำคัญ คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรติตถ์ เขต 1 ควรกำหนดมาตรการที่ชัดเจนเพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอก เช่น กรรมการสถานศึกษา เข้ามามี ส่วนร่วมในการวางแผนของสถานศึกษา และ (3) ปัจจัยที่มีส่วนสำคัญทำให้การพัฒนาขีดความสามารถใน การบริหารจัดการด้านการวางแผนประสบผลสำเร็จ ที่สำคัญคือ การมีภาวะผู้นำของผู้บริหารควบคู่ไปกับ การได้รับการยอมรับด้านการวางแผนจากประชาชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7515
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118855.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons