กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7517
ชื่อเรื่อง: ความเป็นไปได้ของโครงการโรงงานผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้งเพื่อการส่งออก: กรณีศึกษาการตั้งโรงงานในจังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feasibility of dehydrated fruits factory project for export : establishment at Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไมตรี วสันติวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัยพร ทรวงแสง, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ผลไม้แห้ง -- การตลาด
โรงงานผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง -- ไทย -- ราชบุรี
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาขนาดของตลาดส่งออกผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง ทั้ง 4 ชนิด (2) ศึกษา กระบวนการผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง (3) ศึกษาประเภทของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต (4) ประมาณการกำลัง การผลิต และงบประมาณการลงทุนในการตั้ง โรงงานผลิตผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง ที่จะตั้งขึ้นในจังหวัดราชบุรี และ (5) วิเคราะห์ผลตอบแทนของการลงทุน การวิจัยดำเนินการตามขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ 3 ด้านคือ (1) ด้านการตลาด (2) ด้านเทคนิค 2 เรื่อง คือ เปรียบเทียบว่ามีวัตถุดิบเพียงพอต่อการใช้ของโรงงานหรือไม่ โดยเปรียบเทียบ ระหว่างปริมาณผลผลิตกับปริมาณความต้องการใช้รวมของโรงงานแปรรูปผลไม้ในบริเวณใกล้เคียง และศึกษากระบวนการ การผลิตของโรงงานแปรรูปผลไม้แช่อิ่มอบแห้ง (3) ด้านการเงิน ผลการวิจัยพบว่า โครงการมีความเป็นไปได้ที่จะลงทุน ใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 57.0 ลัานบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายก่อนการดำเนินงาน 0.5X ล้านบาทที่ดิน 60 ล้านบาท อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 12.0 ล้านบาท เครื่องจักร 25.27 ล้านบาท อุปกรณ์และอื่นๆ 2.15 ล้านบาท และในทุนหมุนเวียน 10 ล้านบาท เครื่องจักรหลักที่ใช้ประกอบด้วย เครื่อง ปอกเปลือกสับปะรดกี่งอัตโนมัติ ถังแช่วัตถุดิบ ถังต้มไล่สารเคมี ถังแช่น้ำเชื่อม ถังผสมน้ำเชื่อม เตาอบ และเครื่องหั่น มี กำลังการผลิตที่เหมาะสมคือ 160 ตัน/เดือน หรือ 1.920 ตัน/ปี ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตส่งออกได้แก่ สับปะรดแช่อิ่มอบแห้ง 666 ตัน/ปี มะละกอแช่อิ่มอบแห้ง 644 ตัน/ปี มะม่วง แช่อิ่มอบแห้ง 330 ตัน/ปี และฝรั่งแช่อิ่มอบแห้ง 380 ตัน/ปี ใช้งบประมาณ ในการลงทุนประมาณ 46 ล้านบาท ให้อัตราผลตอบแทนภายในจากการลงทุน (IRR) 32.21% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 35.513.000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 3.2 ปี นอกจากนี้ยังพบว่าในการวิเคราะห์จะมีความเชื่อมโยงกันทั้งหมดเริ่มต้นตั้งแต่การ วิเคราะห์หาความต้องการตลาด การกำหนดกำลังการผลิตที่เหมาะสม การจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอต่อการใช้ของโรงงาน การมีกระบวนการผลิตที่เหมาะสม จนกระทั้งถึงการวิเคราะห์ทางการเงิน ด้งนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการวิเคราะห์ คือ การมี ข้อมูลที่ถูกต้องทั้งในเชิงกว้างและในเชิงลึก รวมทั้งกระบวนการในการตรวจสอบข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ จึงจะทำให้ผลของการวิเคราะห์สามารถนำผลไปใช้ได้ในทางปฎิบัติ ในการนำผลการวิจัยไปใช้มีข้อควรจะต้องระวังเป็นอย่างยิ่ง คือ มีหลายๆ จุดทั้งในกระบวนการผลิต การจัด การวัตถุดิบ และการจัดการด้านการตลาด ดังนั้นในการที่จะทำให้โครงการประสบผลสำเร็จลุล่วง เป็นไปตามแผนงานที่ กำหนดไว้ จำเป็นจะต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์สูง หรือมีความชำนาญในงานนั้นๆ เป็นอย่างดี หรือการใช้บริการที่ปรึกษา เพื่อช่วยในการพัฒนาระบบงานด้านต่างๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7517
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
77162.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons