Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7525
Title: การรับรู้บรรยายกาศองค์การและความพึงพอใจในงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเขตชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก
Other Titles: Perception of organizational climate and job satisfaction of staff working at the Eastern Seaboard Industrial of Thailand
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระ พรหมน้อย, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
ความพอใจในการทำงาน -- ไทย (ภาคตะวันออก)
พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม -- ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2545
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพี่อศึกษาการรับรู้บรรยากาศองค์การของ พนักงาน และความพึงพอใจในงานของพนักงาน (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างระดับการรับ รู้บรรยากาศองค์การของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความแตกต่าง ระหว่างระดับความพึงพอใจในงานของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (4) เพี่อศึกษา ความสัมพันธ์ของการรับรู้บรรยากาศองค์การกับระดับความพึงพอใจในงานของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใซ้ประกอบด้วย พนักงานที่ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขต ชายส่งทะเลภาคตะวันออก จำนวน 388 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่าที่เกี่ยวกับการวัดระดับการรับรู้บรรยากาสองค์การ และความพึงพอใจใน งานที่ผู้วิจัยสรัางขึ้นมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี เชฟเท่ (Scheffe’s test) หรือ แทมเฮน (Tamhane’s test) สัมประสิทธ์ สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for WINDOWS ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานมีการรับรู้บรรยากาศองค์การอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลาง (2) พนักงานที่มีอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และระดับตำแหน่งต่างกัน มีการรับรู้บรรยากาศองค์การไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีระดับ การศึกษาาต่างกัน มีการรับรู้บรรยากาศองค์การ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระคับ .05 (3) พนักงานที่มีอายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และระดับตำแหน่งต่างกัน มีความพึงพอใจในงาน ไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจในงานแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) การรับรู้บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูง กับ ความพึงพอใจในงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7525
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77165.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.83 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons