Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7527
Title: | การปรับปรุงกระบวนการปฎิบัติงาน : กรณีศึกษาฝ่ายบัญชีและการเงินบรัษทโรงแรมโรสสกาเด้น (2511) จำกัด |
Other Titles: | Operating process improvement a case study of Accounting and Finance Department of Rose Garden Hotel (2511) Company Limited |
Authors: | จีราภรณ์ สุธัมมสภา จินตนา วุ่นดี, 2507- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | บริษัทโรงแรมโรสสกาเด้น (2511). ฝ่ายบัญชีและการเงิน การจัดระบบงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการปฏิบัติงานของฝ่ายบัญชีและการเงินในระบบปัจจุบัน บริษัทโรงแรมโรสกาเต้น (2511) จำกัด (2) ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัทโรงแรมโรสกาเต้น (2511) จำกัด (3) ศึกษาผลของการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานของฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัทโรงแรมโรสกาเต้น (2511) จำกัด การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ประชากรได้แก่พนักงานฝ่ายบัญชีและการเงินบริษัทโรงแรมโรสกาเด้น (2511) จำกัด รวมทั้งสิ้นจำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบฟอร์มบันทึกการประชุม และผังการไหลเวียนของงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้่อหา และจัดทำผังการไหลเวียนของงานและศึกษาผลจากการปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานจากตัวชี้วัด 4 ประการ ได้แก่ การลดลงของตัวชี้วัด 4 ประการ คือ แรงงานที่ใช้ เวลาในการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และความผิดพลาดของข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการปฏิบัติงานเดิมของฝ่ายบัญชีและการเงินซึ่งประกอบด้วย แผนกบัญชี แผนกการเงิน แผนกคลังสินค้าแเละแผนกจัดซื้อ มีความซ้ำซ้อนและมีปัญหาคอขวดหลายขั้นตอนมีการใช้ผู้ปฏิบัติงานเกินความจำเป็นของงาน (2) ปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติงานเดิมของฝ่ายบัญชีและการเงิน ประกอบด้วย แผนกบัญชี แผนกการเงิน แผนกคลังสินค้านเละแผนกจัดซื้อ ใช้ผังการไหลเวียนของงานการศึกษาวิธีการปฏิบัติตามรายละเอียดการทำงานเฉพาะ การศึกษาแนวคิดการออกแบบผังเส้นทางเดินของงาน ศึกษากระบวนการกำหนดแนวทาง ขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ออกแบบการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศ ศึกษากระบวนการทำงานจากสถานที่จริง และนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานบางกระบวนการปฏิบัติงานดังกล่าวเหล่านั้น โดยเฉพาะขั้นตอนการอนุมัติจากผู้บริหารและการส่งข้อมูลค่าใช้จ่ายจากหน่วยงานต่างๆ ไปยังแคชเชียร์ส่วนหน้า (3) ผลการปรับปรุงกระบวนการดังกล่าว ส่งผลทำให้สามารถลดจำนวนพนักงานลงเหลือ 15 คน ลดเวลาในการปฏิบัติงานเหลือ 120 ชั่วโมงหนึ่งรอบเวลาสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงเหลือ 114,550 บาทต่อเดือน และลดความผิดพลาดของข้อมูลในการปฏิบัติงานลงเหลือ 26.50 เปอร์เซ็่นต์ต่อเดือน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7527 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_161044.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License