Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7529
Title: วิถีชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
Other Titles: Life styles of students of Naresuan University, Phayao
Authors: ยุทธนา ธรรมเจริญ
จิราพร ดอกบัว
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ศิริชัย พงษ์วิชัย
อลิสล่า พงศ์ยี่หล้า
Keywords: นักศึกษา--การดำเนินชีวิต
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิถีชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา(2) เปรียบเทียบวิถีชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยาจำแนกตามลักษณะทางประชากร (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจหอพัก การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4 ในปีการศึกษา 2551 จำนวน 8,667 คน กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.95 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 382 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและสุ่มตัวอย่างจากแต่ละชั้นภูมิด้วยวิธีการกำหนดสัดส่วนของประชากรในแต่ละชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบเชิงซ้อนโดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) วิถีชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา ด้านกิจกรรม ที่นักศึกษาทำค่อนข้างบ่อยคือ ดูโทรทัศน์ รองลงมาคือ เล่นอินเทอร์เน็ต ดูวีซีดี ดีวีดี และฟังวิทยุ ด้านความสนใจ พบว่า นักศึกษาให้ความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับครอบครัวเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ สันทนาการ อาหาร และสื่อต่าง ๆ ด้านความคิดเห็นพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับหอพักนักศึกษามากที่สุด รองลงมาคือ สังคมและการเมือง (2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีวิถีชีวิตด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานอดิเรก การร่วมกิจกรรมสมาชิกชมรม การเล่นกีฬา ด้านความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับแฟชั่น อาหาร ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสังคม การเมือง การศึกษา อนาคตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 นักศึกษาที่มีชั้นปีที่ศึกษาแตกต่างกันมีวิถีชีวิตด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับงานอดิเรก วันหยุดพักผ่อน การร่วมกิจกรรมสมาชิกชมรม ด้านความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับแฟชั่น ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสังคมการเมือง ธุรกิจ การศึกษา อนาคต วัฒนธรรม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักศึกษาที่มีรายได้ (รายรับ) ต่อเดือน แตกต่างกันมีวิถีชีวิตด้านกิจกรรมที่เกี่ยวกับการร่วมกิจกรรมสมาชิกชมรม การจ่ายตลาด ด้านความสนใจในเรื่องที่เกี่ยวกับอาหาร ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสังคมการเมือง ธุรกิจ การศึกษา ผลิตภัณฑ์ อนาคต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจหอพักพบว่านักศึกษามีความคิดเห็นว่าหอพักที่ดีควรสะอาด ปลอดภัย และราคาไม่แพง
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7529
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
118877.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.21 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons