Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7540
Title: การรับรู้คุณภาพการให้บริการของผู้โดยสารชาวไทยที่มีต่อท่าอากาศยานหาดใหญ่
Other Titles: Perception of service quality of Thai passengers towards Hat Yai International Airport
Authors: รชพร จันทร์สว่าง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุไก่ โสบผอม, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: ท่าอากาศยานหาดใหญ่--บริการลูกค้า
ท่าอากาศยาน--ไทย--สงขลา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2563
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการท่าอากาศยานหาดใหญ่ที่มีต่อระบบการให้บริการท่าอากาศยานตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยาน (2) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของระบบการให้บริการท่าอากาศยานตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยาน ตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ (3) ศึกษาปัจจัยระบบการให้บริการท่าอากาศยานตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยาน ที่ส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานหาดใหญ่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ประชาชนคนไทยทั่วไปที่มาใช้บริการของท่าอากาศยานหาดใหญ่ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2564 จำนวน 609,302 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการสูตรคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ได้ 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบพหูคูณถดถอย ผลการศึกษาพบว่า (1) ระบบการให้บริการท่าอากาศยานหาดใหญ่ตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การตรวจหนังสือเดินทาง/หลักฐานแสดงตัวบุคคล รองลงมา ความคิดเห็นโดยรวมต่อท่าอากาศยาน และด้านที่น้อยที่สุด คือ การเดินทางสู่ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ตามลำดับ และสาหรับระดับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานหาดใหญ่ พบว่า คุณภาพการบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความน่าเชื่อถือ รองลงมา คือ ความเป็นรูปธรรมของบริการ และด้านที่น้อยที่สุด คือ การดูแลเอาใจใส่ (2) ผู้ใช้บริการที่มีอายุและวัตถุประสงค์ของการเดินทางที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อระบบการให้บริการท่าอากาศยานตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ระบบการให้บริการท่าอากาศยานตามโครงการจัดอันดับท่าอากาศยานกับคุณภาพการให้บริการท่าอากาศยานหาดใหญ่ มีความสัมพันธ์กันสูงในทิศทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัยที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพการให้บริการมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 81.10.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7540
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_166543.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.13 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons