กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7545
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของหน่วยงานบริหารพนักงานต้อนรับบนกรณีศึกษา พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Studying the organizational communication efficiency of cabin crew administration case study : flight attendants in Thai Airways International Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณปพร โต๊ะวิเศษกุล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
การสื่อสารในองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสื่อสารภายในองค์การของหน่วยงานบริหารพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) (2) เพื่อศึกษาปัญหาการสื่อสารภายในองค์การของหน่วยงานบริหารพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ที่ไม่อยู่ในระดับหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา จำนวน 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความสะควก และเจาะจงสถานที่ที่เก็บข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) การสื่อสารภายในองค์การที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเป็นการสื่อสารส่วนบุคคล มีระสิทธิภาพในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเพื่นร่วมงานทำให้การทำงานบรรลุเป้าหมาย การสื่อสารสองทางและการเข้าใจความหมายตรงกันตามลำดับ การสื่อสารภายในองค์การที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดเป็นการสื่อสารจากล่างขึ้นบน ขาดประสิทธิภาพในเรื่องการเปิดเผยในการสื่อสารกับผู้บังคับบัญชา สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อที่มีการเข้าถึงมากกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ (2) ปัญหาการสื่อสารภายในองค์การส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้บังคับบัญชาสื่อสารมายังพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินเพียงฝ่ายเดียว พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินไม่ทราบการช่องทางการสื่อสาร ไม่กล้าสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นใดๆมายังผู้บังกับบัญชา ปัญหาเกิดขึ้นจากตัวพนักงานเองที่ขาคความใส่ใจในการติดตามข่าวสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ และพนักงานบางคนยังไม่มีความรู้ในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7545
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_122072.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons