กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7548
ชื่อเรื่อง: ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงิน : กรณีศึกษาบริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Financial decision support system : a case study of Magnecomp Precision Technology Public Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรศิริ แสงหิรัญ, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การเงิน
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางการเงิน ของบริษัท แมกเนคอมพ์ พรีซิชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) โดยมีขอบเขตเฉพาะการวิเคราะห์ข้อมูลจากงบการเงิน ได้แก่ งบดุล งบกำไรขาดทุน และงบกระแสเงินสด เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูง วิธีดำเนินการศึกษา ผู้ศึกษาใช้ศาสตร์ที่เกี่ยวกับบิซิเนส อินเทเลเจ้นท์ทางด้านการเงิน และประยุกต์ใช้แนวคิดวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) ซึ่งมีขั้นตอนการทำงานตั้งแต่การวิเคราะห์ โดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลงบการเงินของบริษัท การเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือในการพัฒนาระบบ ขั้นตอนต่อไปคือ การออกแบบ ประกอบด้วย การออกแบบภาพรวมของระบบ การออกแบบคลังข้อมูล และการออกแบบรายงาน ขั้นตอนสุดท้ายคือ การพัฒนาและติดตั้งระบบ โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนา คือ ไมโครซอฟท์ ซีควลเซิร์ฟเวอร์ 2000 เพื่อสร้างคลังข้อมูล และนำข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูลด้วย ไมโครซอฟท์ ซีควลเซิร์ฟเวอร์ 2005 อินทีเกรชั่น เซอร์วิส จากนั้น จึงสร้างดาต้ามาร์ทด้วย ค็อกนอส บีไอ เฟรมเวิร์ค และสร้างรายงานด้วย ค็อกนอส บีไอ รีพอร์ท แสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์บนอินทราเน็ตขององค์การ ผลการศึกษานี้ ทำให้ได้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางด้านการเงินที่ตอบสนองความต้องการแก่ผู้ใช้งานระบบใน 3 ด้าน คือ 1) ด้านกระบวนการทำงาน โดยผู้ดูแลระบบมีหน้าที่นำข้อมูลเข้าสู่คลังข้อมูล 2) ด้านรูปแบบรายงาน ซึ่งแสดงผลผ่านเว็บบราวเซอร์บนอินทราเน็ตขององค์การ เพื่อให้แสดงสารสนเทศอย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการใช้งาน และ 3) ด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบซึ่งสารสนเทศที่ได้นี้ มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนและตัดสินใจทางการเงินของผู้บริหารระดับกลางและผู้บริหารระดับสูงของบริษัท ทั้งนี้ ระบบที่พัฒนาขึ้นยังมีข้อจำกัดที่จะต้องพัฒนาในด้านเอกสารประกอบระบบ และจัดฝึกอบรมแก่ผู้ใช้งาน ตลอดจนควรมีการขยายผลเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้มากขึ้นในอนาคต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7548
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_121990.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons