Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/757
Title: | การประเมินความต้องการจำเป็นตามความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย เทศบาลตำบลท่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช |
Other Titles: | Needs assessment in solid waste management as perceived by the people in Thayang Municipality, Nakhon Si Thammarat Province |
Authors: | สมโภช รติโอฬาร ดรุณี สุดปราง, 2523- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา ผลประเสริฐ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การกำจัดขยะ |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณที่สนับสนุนด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลตำบลท่ายาง และ 2) ความต้องการจําเป็นตามความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยเทศบาลตำบลท่ายาง วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะกำหนดกรอบแนวคิดของการ ประเมินความต้องการ จำเป็นใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอย และประเด็นความต้องการจําเป็น เพื่อนําไปสร้างแบบสอบถาม ระยะที่ 2 ระยะประเมินความต้องการจําเป็น เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 350 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.89 วิเคราะห์ความต้องการ จําเป็นตามความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ด้วยสถิติดัชนีความต้องการจําเป็น PNI ผลการศึกษา พบว่า 12 สถานการณ์การจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลตำบลท่ายาง มีการดำเนินการเองและจ้างเหมา มีการปฏิบัติงานไม่สม่ำเสมอ มีขยะตกค้างส่งกลิ่นเหม็น ขาดประสิทธิภาพในการแยกขยะ ถังขยะไม่เพียงพอและชำรุด ประชาชนมีพฤติกรรมการ ขยะไม่ถูกต้อง ไม่แยกขยะก่อนทิ้ง จัดขยะโดยการเผา กลุ่มสนทนาเสนอให้มีการสํารวจและจัดให้มีถังขยะอย่างเหมาะสม เทศบาล ปรับปรุงการจัดการขยะ รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ต่างๆ และ 2) ความต้องการ จําเป็นตามความคิดเห็นของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอย ด้านสถานการณ์ปัญหา ประชาชนมีความต้องการจําเป็นในการแก้ไขปัญหาสุนัขคุ้ยเขี่ยถังขยะ ขยะล้นถังส่งกลิ่นรบกวน ถังขยะไม่เพียงพอ ด้านการจัดการขยะของเจ้าหน้าที่ต้องการ ให้มีการกวาดถนนอย่างสม่ำเสมอ เก็บขนขยะและแยกขยะให้เรียบร้อย ด้านการจัดการขยะของประชาชนต้องการให้รณรงค์นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ คัดแยกขยะ เพื่อจำหน่าย รวบรวมขยะเพื่อรอการเก็บจากเทศบาล ด้านรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอย ต้องการให้จัดวางถังขยะแบบมีฝาปิดถังขยะแยกประเภท ทำถนนปลอดถังขยะ การเทขยะมาเพื่อจําหน่าย การธนาคารขยะส่งเสริมการคัดแยกขยะ จ้างเหมาชุมชนกวาดขยะ ครัวเรือนลดและแยกขยะ การรวบรวมขยะใส่ถุงวางหน้าบ้านตามเวลาให้เทศบาลมาเก็บขน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/757 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
127870.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License