Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบth_TH
dc.contributor.authorผุสดี เจียมศิริ, 2490-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-12T04:02:32Z-
dc.date.available2023-07-12T04:02:32Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7586en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545th_TH
dc.description.abstractในการศึกษาวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ (1) วัดระดับทัศนคติต่อความมั่นคงในการ ทำงานของพนักงานหลังการควบธุรกิจ (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้เกี่ยวกับบริษัทลักษณะงานและลักษณะบุคคล กับทัศนคติต่อความมั่นคงในการทำงาน (3) เสนอแนวทางแก้ไขในการเสริมสร้างความมั่นคงในการทำงานขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 353 คน เป็นตัวแทนจากประชากรที่เป็นพนักงานในส่วนสำนักงานของบริษัทข้ามชาติ จำนวน 12 บริทัทในอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทยและมีการควบธุรกิจ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระดับตำแหน่ง 4 ระดับ ดังนี้ ตำแหน่งผู้อำนวยการ 20 คน ตำแหน่งผู้จัดการ 100 คน ตำแหน่งหัวหน้า งาน 85 คน ตำแหน่งพนักงานทั่วไป 148 คน ช่วงเวลาที่ใช้ในการเก็บรวบรวมแบบสอบถามในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 มีนาคม 2545 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปลายปิดแบบเลือกตอบ แบบมาตรประมาณค่าลิเคิร์ท 5 ระดับ และคำถามปลายเปิด แบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for Social Sciences) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบแบบเชฟเฟ และการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานมีทัศนคติต่อความรู้สึกมั่นคงในการทำงานหลังการ ควบธุรกิจอยู่ในระดับสูงและไม่เป็นไปตามสมมติฐาน (2) พนักงานมีการรับรู้เกี่ยวกับบริษัท และ ลักษณะงานแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อความรู้สึกมั่นคงในการทำงานหลังการควบธุรกิจแตกต่างกันชี่งเป็นไปตามสมมติฐาน (3) พนักงานในบริษัทข้ามชาติที่มีลักษณะบุคคลด้านระดับตำแหน่งปัจจุบันแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อความรู้สึกมั่นคงในการทำงานหลังการควบธุรกิจแตกต่างกันซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน (4) พนักงานทึ่มีลักษณะบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน และวุฒิการศึกษาแตกต่างกันจะมีทัศนคติต่อความรู้สึกมั่นคงในการทำงานหลังการควบธุรกิจไม่แตกต่างกันซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไวัth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบริษัทข้ามชาติth_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.titleความมั่นคงในการทำงานของพนักงานหลังการควบธุรกิจของบริษัทข้ามชาติในประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeEmployees' job security after merger in the multi-national company in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were (1) to measure the perceived levels of employees’ attitude in job security (2) to study relationships between company’s knowledge, job, personal characteristics with employees’ job security (3) to compile a list of additional measurements to build job security. A sample size of 353 office employees for this research, representing the population of 12 multi-national companies in the Pharmaceutical Industry in Thailand, passing through merger. It composed of 4 position levels, i.e., 20 directors, 100 managers, 85 supervisors and 148 general staff. Collection of questionnaires was performed during February 1 - March 30, 2002 . Tool to collect data comprised of close-ended check-list with 5 Likert Rating Scales and open-ended questionnaires. All data were analyzed using SPSS computer program (Statistical Package for Social Sciences), a ready-made easy to used tool, to calculate the percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA, Scheffe’s and content analysis. Major research findings indicated (1) overall result revealed that employees’ attitude level towards job security remained high, not in line with hypothesis; (2) employees’ perception on companies and respective job affected level of employees’ attitude towards job security, in line with hypothesis; (3) position levels affected level of employees’ attitude towards job security, in line with hypothesis; (4) sex, age, married status, experience & education level have no affect on employees’ attitude towards job security, not in line with hypothesis.en_US
dc.contributor.coadvisorสุขุมาลย์ ชำนิจth_TH
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
77515.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.12 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons