กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7587
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Studying excise texes collection for Ozone Deplting Substances : ODSs
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิเชียร เลิศโภคานนท์
นวลอนงค์ คงดำ, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การจัดเก็บภาษี
อากรสรรพสามิต
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาหลักการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต (2) ศึกษาวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้าประเภทสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (3) ศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษีต่อผู้นำเข้า การศึกษาครั้งนี้เป็นรูปแบบเอกสารทางวิชาการโดยศึกษาและรวบรวมรายละเอียดจากแหล่งความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับหลักการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต และมุ่งเน้นเฉพาะสินค้าประเภทสารทำลายชั้นบรรยากาศโซน ศึกษาผลกระทบของมาตรการภาษี โดยการศึกษาจากข้อมูลสถิติของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลจากการศึกษาพบว่า (1) ภาษีสรรพสามิตมีหลักการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการที่บริโภคแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดีและเป็นสินค้าที่มีลักษณะฟุ่มเฟือย และรวมถึงสินค้าและบริการที่ได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากกิจการของรัฐ (2) สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสินค้าที่บริโภคแล้วเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จึงต้องใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตเพื่อจำกัดการบริโภค โดยเสียภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 30 และเนื่องจากสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าทั้งหมด ฐานภาษีจึงคิดจากราคา C.I.F. รวมด้วยค่าอาการขาเข้าและค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) การใช้มาตรการภาษีสรรพสามิตสำหรับสินค้าประเภทสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อผู้นำเข้า ทำให้ต้นทุนสินค้าที่นำเข้ามีราคาสูงขึ้น ปริมาณการบริโภคน้อยลงมีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7587
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_112541.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons