กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7592
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ที่ใช้ระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ : กรณีศึกษา เฉพาะพนักงานของที่ทำการไปรษณีย์ สังกัดสำนักงานการสื่อสารไปรษณีย์เขต 6 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Work satisfaction of counter automation service : a case study of the regional postal officers (Regional Postal Bureau 6) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธนชัย ยมจินดา สุชน ศรีสวรรค์, 2492- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์ วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ สำนักงานการสื่อสารไปรษณีย์เขต 6 พนักงานโรงงานอุตสาหกรรม--ความพอใจในการทำงาน พนักงานไปรษณีย์--ความพึงพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2545 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยเชิงสำรวจได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 271 คน จากพนักงานไปรษณีย์รวมทั้งสิ้น 836 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามตามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.9635 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS/PC ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานไปรษณีย์ที่ใช้ระบบงานบริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติก่อนใช้และหลังใช้มีในระดับสูง (2) พนักงานไปรษณีย์ที่ใช้ระบบบริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น (3) ปัจจัยบุคคลด้านเพศต่างกัน จะมีความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และการศึกษาต่างกันจะมีความพึงพอใจต่อปัจจัยแวดล้อมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานก่อนใช้และหลังใช้ระบบงานบริการเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติได้แก่ ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านการบริหารและปัจจัยแวดลัอม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7592 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License