Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7599
Title: ประสิทธิผลการบริการผู้โดยสารของพนักงานต้อนรับภาคพื้นของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
Other Titles: Effectiveness of ground staff services to passenger of Thai Airways International Public Company Limited
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมลมาลย์ อุปนิสากร, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทการบินไทย
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
ผู้โดยสารเครื่องบิน--บริการที่ได้รับ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาประสิทธิผลการบริการผู้โดยสารของพนักงานต้อนรับภาคพื้น (2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้น (3) เสนอแนะการเพิ่มประสิทธิผลการให้บริการให้แก่พนักงานต้อนรับภาคพื้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์จากแบบสอบถามที่เป็นคำถามปลายเปิด และการสัมภาษณ์ประชากรที่ศึกษาคือ พนักงานต้อนรับภาคพื้นของ บริษัทการบินไทยจํากัด (มหาชน) จำนวน 327 คน และกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาในครั้งนี้จำนวน 180 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือในการทำวิจัย คือ การใช้แบบสอบถามกับพนักงานต้อนรับภาคพื้นฯ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารของพนักงานต้อนรับภาคพื้นจำนวน 3 ท่าน การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งการวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณมีการวิเคราะห์ใน 2 ส่วน คือการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาโดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ด้วย สถิติเชิงอนุมาน โดยการทดสอบค่าทีและ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์แบบสอบถามปลายเปิดและการสัมภาษณ์ มีการวิเคราะห์เชิงพรรณนาจากข้อเสนอแนะโดยผู้วิจัยทำ การแยกแยะคำตอบที่ได้มาจากการจัดกลุ่มคำตอบและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ และใช้เครื่องมือ SWOT Analysis ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลการบริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้นมีน้อยกว่าร้อยละ 90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยความพร้อมขององค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการให้บริการของพนักงานต้อนรับภาคพื้น ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) การเพิ่มประสิทธิผลการบริการทำได้โดยแบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านแรงจูงใจ เช่น เพิ่มโอกาสก้าวหน้าในอาชีพ และ พนักงานมีรายได้เหมาะสม ด้านปัจจัยความพร้อมขององค์กรเช่น เพิ่มการรับพนักงานประจำ การสร้างความ ประทับใจในการบริการเพื่อให้ผู้โดยสารกลับมาใช้บริการซ้ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7599
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_149423.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons