Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7601
Title: ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Human development strategies of the Office of Disease Prevention and Control, Region 5 Nakhonratchasima Province
Authors: ยรรยง ทองประดิษฐ, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา--การพัฒนาบุคลากร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา และ (2) เสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างใช้ประชากรทั้งหมด คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติงานในเดือนมกราคม 2557 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามปลายเปิด การวิเคราะห์ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการจับคู่ปัจจัยโดยเทคนิค วิธีวิเคราะห์ TOWS แมทริกซ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา มีจุดแข็งคือ เป็นผู้นำที่มีศักยภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ จุดอ่อนคือการสรรหา บรรจุ และแต่งตั้ง การพิจารณาความดีความชอบไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม ขาดการวิเคราะห์งานและอัตรากำลัง โอกาสคือ มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย และการทำงานแบบเครือข่ายเขตสุขภาพ ข้อจำกัดคือ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกรอบอัตรากำลังไม่สอดคล้องกับภาระงาน (2) ข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนา บุคลากรของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากรและพัฒนาระบบการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สนับสนุนการปฏิบัติงาน ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาข้าราชการเพื่อเป็นผู้นำที่มีศักยภาพสูง สร้างการมีส่วนร่วม และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลงานวิชาการและการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพรองรับประชาคมอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 3 บูรณาการทำงานระหว่างข้าราชการทุกระดับและทุกหน่วยงาน และการบริหารงบประมาณแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทักษะการคิดและ ตัดสินใจของผู้บริหารทุกระดับ และการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการ ป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาข้าราชการให้มีผลสัมฤทธิ์สูง ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาข้าราชการเป็นคนเก่งคนดี มีเกียรติและศักดิ์ศรี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7601
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_149651.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.66 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons