กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/760
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายของการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem of euthanasia
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัณย์ ถนัดศิลปกุล
สุภาพ โพนสิงห์, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา.
ประกาย วิบูลย์วิภา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การุณยฆาต--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. | สิทธิการตาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ.
สิทธิการตาย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องปัญหาทางกฎหมายของการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบ และวิธีการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบทั้งของไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาผลทางกฎหมายและรูปแบบที่เหมาะสม ในการนําวิธีการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบมาใช้กับประเทศไทย และ (3) ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในส่วนของการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิจัยจากเอกสารทําการศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์บทบัญญัติที่คุ้มครองให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบในประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเดนมาร์ก ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศแคนาดา และประเทศเยอรมันนี โดยการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น กฎหมาย หนังสือวิชาการ บทความวารสาร วิทยานิพนธ์ รวมถึงข้อมูลบนเว็บไซต์ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับประเด็นที่ตั้งสมมุติฐานไว้ภายใต้หลักการทฤษฎีและหลักกฎหมาย จากการศึกษาพบว่ารูปแบบและวิธีการให้ผู้ป่วยที่สิ้นหวังตายอย่างสงบอาจแบ่งได้เป็น 3 กรณี คือ (1) การทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย (2) การช่วยให้ผู้ป่วยฆ่าตัวตาย และ (3) การไม่ขอรับบริการสาธารณสุขในระยะสุดท้ายของ ชีวิตที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายหรือยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยให้ผู้ป่วย ตามที่ผู้ป่วยได้แสดงเจตนาไว้ กรณีแรกทุกประเทศถือว่าการกระทําดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมาย มีเพียงประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่มีกฎหมายยอมให้แพทย์กระทําได้ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด กรณีที่สองทุกประเทศถือวาเป็นความผิดตามกฎหมาย ส่วนกรณีที่สามทั้งไทยและต่างประเทศ ยอมรับให้กระทําได้ ซึ่งประเทศไทยกำหนดให้ต้องทําเป็นหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้เป็นไปตาม มาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 สําหรับผลทางกฎหมายและรูปแบบที่เหมาะสมในการนํามาใช้กับประเทศไทย พบว่าการทําให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายและการช่วยให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายยังถือเป็นความผิดตามกฎหมายและไม่สมควรนํามาใช้ กับประเทศไทย ส่วนกรณีผู้ป่วยทําหนังสือแสดงเจตนาไว้ล่วงหน้าที่จะไม่ขอรับบริการสาธารณสุขในวาระสุดท้ายของชีวิตที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยนั้น สามารถนํามาใช้กับประเทศไทยได้ภายใต้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัดกุม ได้แก่ ขั้นตอนการแสดงเจตนา ผู้แสดงเจตนาจะต้องได้รับการชี้แจงและตอบข้อซักถามจนเข้าใจดีแล้วและสามารถเปลี่ยนการแสดงเจตนาได้ตลอดเวลา แบบของหนังสือแสดงเจตนา จะต้องระบุ รายละเอียดสิ่งที่ต้องกำหนดไว้อย่างชัดเจน เงื่อนไขและความสมบูรณ์ของหนังสือแสดงเจตนา การทําหนังสือแสดงเจตนา ผู้ทําหนังสือจะต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์มีพยานรู้เห็น การปฏิบัติก่อนและหลังการดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนา จะต้องมีการสรุปขั้นตอนและวิธีการดําเนินการตลอดทั้งมีการสอบทานกระบวนการทํางานนั้นด้วย แม้จะมีการออกกฎกระทรวงกำหนดแนวทางไว้ในข้อเสนอแนะบางประเด็นแล้ว แต่ผู้วิจัยเห็นว่าประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องสําคัญที่ควร กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในส่วนดังกล่าว แทนที่จะกำหนดไว้ในกฎกระทรวงหรือกฎหมายในระดับรอง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/760
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib153292.pdfเอกสารฉบับเต็ม56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons