กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7641
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาลในจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Administrative efficiency of the sub-district administrative organization according to good governance principle in Roi Et province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัฒนศักดิ์ พ้นทุกข์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: องค์การบริหารส่วนตำบล--การประเมิน
องค์การบริหารส่วนตำบล--ไทย--ร้อยเอ็ด
ประสิทธิผลองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) ระดับของประสิทธิภาพการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนดำบล (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบล จำแนก ตามขนาดของ องค์การบริหารส่วนตำบล (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการประสิทธิภาพการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนตำบล และ (4) สภาพปัญหา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 144 แห่ง โดยสุ่มแบบ หลายขั้นตอน ไดักลุ่มตัวอย่าง 72 แห่ง จำนวน 287 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ระดับประสิทธิภาพการบริหารงานใช้ค่าเฉลี่ยและ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความแตกต่างใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการหา ความสัมพันธ์ดัวยวิธีถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาลใน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เปรียบเทียบขนาคขององค์การบริหารส่วนตำบลกับประสิทธิภาพการ บริหารงาน พบว่าไม่แตกต่างกัน (3) ปัจัจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาล พบว่าตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์ 6 ตัวแปร มีระดับนับสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ไดัแก่ หลักความคุ้มค่าหลักการมึส่วนร่วม หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส และ (4) ปัญหาการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า พนักงานส่วนตำบลยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย มีประสบการณ์ในการทำงานน้อย เห็น แก่ประโยชน์ส่วนตน การปฏิบัติงานยังไม่มีความโปร่งใส ขาดความซื่อสัตย์ในการทำงาน ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนไดัรับทราบน้อย ขาดการเปิดโอกาสให้ประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ขาคความ รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ ประชาชนไม่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม และไม่มีการประหยัดในการใช้ วัสดุ อุปกรณ์ในสำนักงาน และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การ บริหารส่วนตำบลตามหลักธรรมาภิบาล โดยต้องสร้างการมีส่วนร่วมให้กับประชาชนการประชาสัมพันธ์ และเพิ่มทุนความรู้ความสามารถให้กับพนักงานดัวยการให้การศึกษาและอบรม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7641
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118928.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons