Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7644
Title: | แนวทางการพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล |
Other Titles: | Guidelines for the development of consumer protection mechanisms in Digital age |
Authors: | สาธิตา วิมลคุณารักษ์ อาบีดีน ขันธสนธิ์, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | การคุ้มครองผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย ความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลของประเทศไทย (3) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลของต่างประเทศ (4) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัล (5) ศึกษาหาแนวทางการพัฒนากลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผลการศึกษาพบว่า (1) การคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเป็นการคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการธุรกิจผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีแนวคิดที่สำคัญ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค แนวคิดเกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางออนไลน์ (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลของประเทศไทยได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ระเบียบคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การไกล่เกลี่ยหรือประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 (3) กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลของต่างประเทศ ได้แก่ บันทึกทางเทคนิคว่าด้วยการระงับข้อพิพาทออนไลน์ของสหประชาชาติ กฎหมายว่าด้วยสิทธิของผู้บริโภคของสหภาพยุโรป แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ของอาเซียน เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของอาเซียน ตรากฎหมายว่าด้วยเว็บ ที่ปลอดภัยของสหรัฐอเมริกาของสหรัฐอเมริกา พระราชบัญญัติสิทธิผู้บริโภคและระเบียบว่าด้วยสัญญาผู้บริโภคของสหราชอาณาจักร (4) ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในยุคดิจิทัลมีปัญหา 3 ประการได้แก่ 1) ปัญหาเกี่ยวกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านการกากับดูแลผู้ประกอบการขายสินค้า 2) ปัญหาเกี่ยวกับกลไกการกาหนดองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจากการซื้อสินค้าทางออนไลน์ และ 3) ปัญหาเกี่ยวกับกลไกการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ (5) ผู้ศึกษาเห็นควรแก้ไข ดังนี้ 1) ควรเพิ่มเติมอานาจของสภาองค์กรของผู้บริโภคในการจัดให้มีความร่วมมือระหว่างองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจ และหน่วยงานของรัฐ ในการกำกับดูแลกันเองภายใต้ข้อกำหนด 2) ควรกำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจ และหน้าที่พิจารณาการร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการ กระทำของผู้ประกอบธุรกิจที่จดทะเบียนพาณิชย์ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ เพื่อให้เกิดกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคข้ามพรมแดนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) ควรกำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีอำนาจและหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคในต่างประเทศ เพื่อให้เกิดกระบวนการไกล่เกลี่ย หรือประนีประนอมข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคข้ามพรมแดน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7644 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 23.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License