Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7662
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ยุทธนา ธรรมเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | นิรมล กสิวัฒน์, 2517- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-13T06:23:27Z | - |
dc.date.available | 2023-07-13T06:23:27Z | - |
dc.date.issued | 2558 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7662 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบ จําแนกตามปัจจัยส่วนประสมการตลาด และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนบุคคลกับ พฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากร คือ กลุ่มผู้บริโภคที่เป็นพ่อแม่ ผู้ปกครองที่เคยซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิดถึงหกขวบ ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยไม่ทราบจํานวนประชากร กําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคํานวณของทาโร่ ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้จํานวน 400 คน เลือกตัวอย่างโดยวิธีตามสะดวก ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูลและแสดงผล ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานในการแปลผล ได้แก่ การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 36-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 60,000 บาทขึ้นไป มีบุตรเป็นเพศหญิง 1 คน อายุอยู่ระหว่าง 1-2 ขวบ (1) ผู้ปกครองมีระดับความคิดเห็นต่อความสําคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการจัดจําหน่ายมีความสําคัญอยู่ในอันดับแรก รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์และด้านราคา (2) ผู้ปกครองที่มีพฤติกรรมการซื้อของเล่น แตกต่างกัน ในด้านประเภทของเล่น ประโยชน์ต่อเด็กจากของเล่นที่ซื้อ ความถี่ในการซื้อ ค่าใช้จ่ายในการซื้อ มีความเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจําหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ไม่แตกต่างกัน และ (3) เพศของบุตร มีความสัมพันธ์กับประเภทและประโยชน์ของของเล่นที่ซื้อ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับความถี่และค่าใช้จ่ายในการซื้อของเล่น ส่วนอายุของบุตร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อทุกด้าน | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--การศึกษาเฉพาะกรณี | th_TH |
dc.subject | ของเล่น--การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ | th_TH |
dc.title | ส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของเล่นเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึงหกขวบ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Marketing mix that affecting buying behavior of development toys for newborn to Six years old childs of consumers in Bangkok | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aims to: (1) study the importance level of the marketing mixs affecting buying behavior of developmental toys for newborn to six years old children of consumers in Bangkok; (2) compare buying behaviors of developmental toys for newborn to six years old children by marketing mix factors; and (3) study the relationship between personal characteristics and buying behavior of developmental toys for newborn to six years old children of consumers in Bangkok. This study is a survey research, the population was family parents who bought developmental toys for newborn to six years old children in Bangkok with unknown number. The sample size was determined by using Taro Yamane formula with a confidence level of 95 percent to be 400. The sampling was convenient sampling with questionnaires as research instrument. Descriptive statistics were including frequency, percentage, mean, standard deviation and inferential statistics were including t-test, F-test and Chi-square test. The results indicated that most parents were female, aged 36-40 years old of bachelor degree and private employees with a monthly income is over 60,000 baht. Most parents have one daughter with 1-2 years old. (1) Parents rated on the importance of the marketing mixs at overall high level. Considering each dimension, the distribution was rated as highest importance, following by the product and the price; (2) parent buying behaviors of various toy type, toy benefit, buying frequency and cost had no different attitude toward the marketing mix of toys by Products, Price, Place and Promotion; and (3) children gender was related with buying behavior in aspects of toy type and toy benefit but not related with buying frequency and buying cost. The age of the child was related with all aspects of buying behaviors. | en_US |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_150224.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.83 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License