กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7669
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The motivation in working of employee of Kasikorn Bank Public Company Limited, Head Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนะพล เวชโพธิ์, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: พนักงานธนาคาร--ไทย
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารกสิกรไทย--พนักงาน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ธนาคารกสิกรไทย จํากัด(มหาชน) สํานักงานใหญ่ (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทํางานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สํานักงานใหญ่ จําแนกตามปัจจัย คุณลกษณะส่วนบุคคล ประชากรที่ใชในการศึกษาคือ พนักงานธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สํานักงานใหญ่ จํานวน 6,000 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 375 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบ ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) แรงจูงใจในการทางานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จํากัด (มหาชน) สํานักงานใหญ่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า แรงจูงใจระดับมาก ได้แก่ ความสำเร็จของงาน การยอมรับนับถือลักษณะของงาน ความรับผดชอบ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลการบังคับบัญชา นโยบายของหน่วยงานและการบริหาร สภาพการทํางาน และความมั่นคงในงาน ส่วนแรงจูงใจระดับปานกลาง ได้แก่ ความเจริญก้าวหน้าในตนเอง และอาชีพ ค่าตอบแทน ตําแหน่ง (2) การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงาน จําแนกตาม คุณลกษณะส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันเมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้าน พบว่า พนักงานที่มีอายุสถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาท ี่ปฏิบัติงาน รายได้ที่แตกต่างกัน มี แรงจูงใจในการทางานแตกต่างกัน ส่วนพนักงานที่มีเพศ ตําแหน่ง ที่แตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการทํางานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7669
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
130057.pdf15.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons