Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7693
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของธนาคารออมสิน |
Other Titles: | Cost and return analysis of the Government Savings Bank |
Authors: | จักราวัฒน์ กฤษณจักราวัฒน์ กันยารัตน์ สถานทรัพย์, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฐาปนา ฉิ่นไพศาล |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ธนาคารออมสิน--การบริหาร |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีว้ตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนในการดำเนินงานของธนาคารออมสิน (2) ศึกษาและวิเคราะห์ผลตอบแทนในกาดำเนินงานของธนาคารออมสิน (3) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของธนาคารออมสิน วิธีการดำเนินการวิจัย เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนเงินทุนแต่ละประเภท ได้แก่ ต้นทุนเงินฝาก ต้นทุนเงินกู้ยืม ต้นทุนเงินทุนถัวเฉลี่ยถ่วงนั้าหนัก ส่วนการวิเคราะห์ผลตอบแทนของธนาคารเป็นการวิเคราะห์ด้านผลตอบแทนเงินให้กู้ยืม ผลตอบแทนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ผลตอบแทนเงินลงทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก นอกจากนั้นยังทำการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เพื่อแสดงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารออมสิน ผลการวิจัยพบว่าในระหว่างปี 2539 ถึงปี 2543 (1) ต้นทุนเงินฝากของธนาคารออมสินประเภทเงินฝากสงเคราะห์ชีวิตอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเพื่มขึ้น ส่วนต้นทุนเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษเงินฝากสลากออมสินพิเศษ และเงินฝากประจำอยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มลดลง ส่วนยอดคงเหลือ เงินทุนพบว่าเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษซึ่งเป็นเงินรับฝากระยะสั้นมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งโดยรวมแล้วต้นทุนเงินทุนทั้งสิ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมีแนวโน้มลดลง (2) ผลตอบแทนเงินลงทุนของธนาคารออมสินประเภทเงินให้สินเชื่ออยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มลดลง ส่วนยอดคงเหลือเงินลงทุนพบว่ามีการปรับสัดส่วนเงินลงทุนดังนี้คือ ในปี 2539 - 2540 รายการระหว่างธนาคารซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะสั้นมีสัดส่วนสูงสุด ปี 2541 - 2542 เงินให้สินเชื่อระยะยาวมีสัดส่วนสูงสุด ปี 2543 เงินลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาวมีสัดส่วนสูงสุด ซึ่งโดยรวมแล้วผลตอบแทนเงินลงทุนทั้งสิ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักมีแนาโน้มลดลง ส่วนโครงสร้างเงินทุนของธนาคารออมสิน ปี 2543 ส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝากระยะสั้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เงินลงทุนส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ระยะยาวอัตราดอกเบี้ยคงที่ (3) ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินพบว่าการดำเนินงานมีประสิทธิภาพ โดยมีความสามารถในการทำกำไรอยู่ในเกณฑ์ดี และมีแนวโน้มเพื่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานของธนาคารเองในรอบ 5 ปี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7693 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License