Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7703
Title: | กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย |
Other Titles: | Marketing strategies of the construction business in the Bangkok Metropolitan Region in the recession economy |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร วัลลภ กัณหะเสน, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง--ภาวะเศรษฐกิจ ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง--การตลาด |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | จากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างได้รับผลกระทบโดยตรงและรุนแรง ผู้รับเหมาก่อสร้างจำนวนมากจาต้องปิดกิจการหรือลดขนาดลง ปัญหาที่ผู้รับเหมาเผชิญคือ ทำอย่างไรจึงจะหางานในตลาดมาป้อนให้กิจการอยู่รอดได้ และมีกลยุทธ์ทางการตลาดใดที่จะนำมาใช้ในภาวะที่กำลังประสบปัญหาผู้วิจัยจึงได้วิจัยกลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้การวิจัยครั้งนี้มีวุตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพี่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของผู้รับเหมาต่อสร้างขนาดเล็ก (2) เพี่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดกลาง (3) เพื่อเปรียบเทียบกลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลาง ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้รับเหมางานก่อสร้างอาคารที่จดทะเบียนกับกองแผนงาน สำนักโยธา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นผู้รับเหมาขนาดเล็ก 64 ราย และ ผู้รับเหมาขนาดกลาง 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของระดับการใช้กลยุทธ์ และระดับความสำเร็จที่ได้รับ โดยใช้ค่าสถิติทดสอบที (I-ICS1)เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกลยุทธ์ทางการตลาด ระหว่างผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลาง ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ทางการตลาดที่ผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางใช้มากที่สุดและได้รับผลสำเร็จสุงสุดในแต่ละด้านซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีความได้เปรียบทางการแข่งข้น คือ การรับประกันคุณภาพงาน(กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์), การเสนอราคาที่คุ่มค่ากับผลงานที่จะได้รับ (กลยุทธ์ราคา), การหมั่นติดตามเอาใจใส่ลูกค้าเพื่อให้ประทับใจและได้รับเลือกให้เข้าประมูลงาน (กลยุทธ์ทางการจัดจำหน่าย) และการรักษาระดับคุณภาพงานและบริการหลังจากงานเสร็จแล้วเพื่อให้ลูกค้าบอกเล่าถึงองค์การปากต่อปาก (กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด)จากการทดสอบความแตกต่างของกลยุทธ์ทางการตลาด ปรากฎว่าระดับการใช้และความสำเร็จที่ได้รับของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคญ 0.05ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ผู้รับเหมาควรใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่สอดคล้องกับทฤษฏีความได้เปรียบทางการแข่งขันเพี่อความสำเร็จและความอยู่รอดในระยะยาวขององค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7703 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License