Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/770
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorตาบทิพย์ ตรงสกุล, 2509--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-18T10:54:14Z-
dc.date.available2022-08-18T10:54:14Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/770-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านบริการของศูนย์สุขภาพชุมชน และการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยด้านบริการ กับการใช้บริการของประชาชนผู้มีสิทธิ และ (3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะของการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ประชาชนที่ขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ากับศูนย์สุขภาพชุมชน 11 แห่งในเขตอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 418 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างครัวเรือนแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 37.29 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และเป็นนักเรียนนักศึกษา มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน สำหรับปัจจัยด้านบริการของศูนย์ สุขภาพชุมชน ได้แก่ บริการที่ตรงกับความต้องการ การรับรู้คุณภาพบริการ และการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง ทั้ง 3 ปัจจัย ส่วนการเข้าถึงบริการ อยู่ในระดับสูง ด้านการใช้บริการ พบว่า ส่วนใหญ่เคยใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน คิดเป็นร้อยละ 75.80 (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ อาชีพ รายได้ บริการที่ตรงกับความต้องการ การรับรู้คุณภาพบริการ การเข้าถึงบริการ และการรับรู้แรงสนับสนุนทาง สังคม และ (3) ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ บริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมทุกศูนย์สุขภาพชุมชน ส่วนบริการฝากครรภ์ บริการตรวจมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านมมีผู้มาใช้บริการน้อย ข้อเสนอแนะของประชาชน คือ ควรเพิ่มบุคลากรเพื่อปฏิบัติงานทันตกรรม การจัดช่องทางบริการพิเศษสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินและผู้สูงอายุ และการประชาสัมพันธ์บริการนอกเวลาราชการให้ประชาชนรับทราบให้มากขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectบริการอนามัยชุมชน--ไทยth_TH
dc.subjectประกันสุขภาพth_TH
dc.subjectบริการการพยาบาลth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้บริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชนของประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeFactors related to service utilization of beneficiaries at pri,ary care units under Universal Healthcare Scheme in Lam Luk Ka District, Pathum thani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this survey research were to study: (1) personal factors, service factors, and service utilization of beneficiaries at primary care units (PCUs) under the Universal Healthcare Scheme in Lam Luk Ka district of Pathum Thani province; (2) the relationships between personal factors, service factors, and PCU service utilization of beneficiaries; and (3) problems encountered in and suggestions related to PCU service utilization. The study sample was 418 beneficiaries under the Universal Healthcare Scheme* who were registered with 11 PCUs in Pathum Thani’s Lam Luk Ka district. They were selected by using the multistage sampling method. Data were collected by using a questionnaire with the reliability level of 0.87. The statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation* and chi-square. The research findings showed that: (1) most of the beneficiaries under the Universal Healthcare Program were female, with an average age of 37.29 years, having primary school educational level, working as employees and being pupils and students, having a monthly income of not exceeding 5,000 baht; the service factors including services were responsive to their needs; the perceptions of service quality and social support were at the moderate level; most of them (75.8 %) had received PCU services; (2) the factors found to be significantly associated at 0.05 level with PCU service utilization were age, occupation, income, services responsive to needs, perception of service quality, accessibility, and social support; and (3) the problems and obstacles encountered were unavailability of dental care services at some PCUs and small numbers of recipients receiving antenatal care, Pap smear and breast cancer examination services. The beneficiaries thus recommended that the number of dental care personnel should be increased, a special service channel should be arranged for emergency care and elderly persons, and the availability of extended services beyond normal work hours should be publicized more widelyen_US
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108730.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons