Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/772
Title: การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการห้องเจาะเลือดและห้องปฏิบัติการ กองพยาธิวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
Other Titles: Client satisfaction survey on the quality of phlebotomy and laboratory services, Department of Pathology, Phramongkutklao Hospital
Authors: โกวิน วิวัฒนพงศ์พันธ์
ทรงศักดิ์ ศรีจินดา, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุรเดช ประดิษฐบาทุกา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาล--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ห้องเจาะเลือด--ความพอใจของผู้ใช้บริการ.
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี่มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการห้องเจาะเลือดและประเมินความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาลต่อคุณภาพบริการทางห้องปฏิบัติการ (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกจำแนกตามลักษณะสังคมประชากร (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการให้บริการห้องเจาะเลือดและห้องปฏิบัติการ ประชากรประกอบด้วยผู้ป่วยนอกทั้งหมดที่มารับบริการห้องเจาะเลือดและแพทย์และพยาบาลทั้งหมดในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้รับบริการห้องเจาะเลือกเป็นผู้ป่วยนอกจำนวน 227 คน ผู้รับบริการทางห้องปฏิบัติการเป็นแพทย์จำนวน 33 คน และพยาบาล จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง จำนวน 2 ชุด หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธิสัมประสิทธิ์เอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.924 และ 0.935 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความพึงพอใจ ผลการวิชัยพบว่า (1) ความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการห้องเจาะเลือดและความพึงพอใจของแพทย์และพยาบาลต่อคุณภาพบริการทางห้องปฏิบัติการอยู่ในระดับมาก (2) ความแตกต่างของอายุระดับการศึกษาและภูมิลำเนามีผลต่อระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการห้องเจาะเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาที่พบในการให้บริการห้องเจาะเลือด ได้แก่ การรอคอยนาน ห้องเจาะเลือดคับแคบ เก้าอี้นั่งไม่เพียงพอและการแสดงพฤติกรรมบริการที่ไม่ดี และปัญหาที่พบในการให้บริการทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ความล่าช้าในการรายงานผลการวิเคราะห์และการแสดงพฤติกรรมบริการที่ไม่ดี กลยุทธ์การเพิ่มระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการให้มากขึ้น ควรปรับปรังคุณภาพบริการที่ผู้รับบริการพบว่ายังเป็นปัญหาในการให้บริการและผู้รับบริการให้ความสำคัญ สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป คือ ควรมีการศึกษาความพึงพอใจของผู้ให้บริการเพื่อใช้ประกอบการปรับปรุงบริการที่เป็นปัญหาและผู้รับบริการประสบอยู่รวมทั้งศึกษาเปรียบเทียบการให้บริการห้องเจาะเลือดและห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลที่มีระดับการให้บริการใกล้เคียงกันเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกในการวางแผนพัฒนาการให้บริการต่อไป
Description: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/772
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
108847.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.47 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons