กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7738
ชื่อเรื่อง: | แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Work motivation of production department employees of General Motors Thailand Company Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ ศศิวิมล พรพลทอง, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัทเจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด (2) เปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 3,000 คน และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 353 คน จากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่น .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด มีแรงจูงใจในการทำงานในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด ยกเว้นด้านการยอมรับ ด้านความกาวหน้าในงาน ด้านผลตอบแทนซึ่งอยู่ในระดับมาก (2) เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการทำงานไม่แตกต่างกัน (3) เสนอแนะผู้บริหารควรเสริมสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันโดยการส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ที่พนักงานต้องทำร่วมกันเปิดโอกาสให้พนักงานแสดงความสามารถ แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่พร้อมพิจารณาปรับเลื่อนตำแหน่งอย่างเป็นธรรมและปรับโครงสร้างเงินเดือนสวัสดิการ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกันซึ่งจะส่งผลประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7738 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
145856.pdf | 9.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License