Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7739
Title: | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา |
Other Titles: | Marketing mix effecting to health supplementary food purchasing behavior of consumers in Sung Noen District Nakhon Ratchasima Province |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง จิราวรรณ สว่างลาภ, 2526- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | อาหารเสริม--การจัดซื้อ พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย อาหารเสริม--การตลาด การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรม การซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (3 )ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรม การซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (4) ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรทั่วไปที่มีอายุตั้งแต่ 20ปีขึ้นไป ในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาคำร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติในการทดสอบ สมมติฐาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในภาพรวม พบว่า มีผลในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีผลในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการจัดจำหน่ายสินค้า รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านส่งเสริมการตลาด (2) พฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพในอำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บริโภคอาหารเสริมทุกวันมากที่สุด และซื้ออาหารเสริมเองและใช้เอง เหตุผลในการบริโภคอาหารเสริม เพราะคุณภาพสินค้ามากที่สุด ผู้ที่แนะนำให้ รับประทานอาหารเสริมคือเพื่อนมากที่สุด และซื้ออาหารเสริม 1 เดือนต่อครั้งมากที่สุด ใช้เงินซื้ออาหารเสริมแต่ละครั้งเป็นเงินต่ำกว่า 1,000 บาท โดยตัวเองมีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้ออาหารเสริมมากที่สุด สำหรับด้านแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ ส่วนใหญ่เลือกซื้ออาหารเสริมที่ผลิตในประเทศไทย (3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า (ก) ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพทุกต้าน (ข) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้ออาหารเสริมเพื่อสุขภาพทุกด้าน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7739 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
118778.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.19 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License