Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7748
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะth_TH
dc.contributor.authorอัมพร หลุยจำลองth_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-14T04:24:12Z-
dc.date.available2023-07-14T04:24:12Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7748en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาในการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ (2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ปฏิบัติการจัดเก็บรายได้จำนวน 4 คน เก็บข้อมูลจากทุกคน และกลุ่มผู้เสียภาษีให้กับเทศบาลตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่จำนวนทั้งสิ้น 4,961 คน กำหนดจำนวนตัวอย่างด้วยสูตรการคำนวณของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มผู้เสียภาษี 370 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาในการจัดเก็บรายได้ของกลุ่มผู้ปฏิบัติที่พบคือ บุคลากรขาดประสบการณ์ในการทำงาน ขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับภาษีแต่ละประเภท และเทศบาลยังขาดงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานด้านจัดเก็บรายได้ สถานที่ของเทศบาลคับแคบ จำนวนเก้าอี้สำหรับพักรอรับบริการไม่เพียงพอ การประชาสัมพันธ์ของเทศบาลไม่ทั่วถึงและเทศบาลไม่มีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บภาษีที่ดี สำหรับปัญหาของกลุ่มผู้เสียภาษีพบว่า ขั้นตอนการชำระภาษี และการอำนวยความสะดวกในการเสียภาษีมีระดับปัญหาอยู่ในระดับน้อย (2) แนวทางการแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้ปฏิบัติการจัดเก็บรายได้ คือ เทศบาลตำบลยางคราม ควรส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอ มีการจัดสรรเงินงบประมาณเพิ่มเพื่อพัฒนาบุคลากร และควรปรับปรุงอาคารสถานที่ ระบบสารสนเทศ และจัดหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อการให้บริการ ส่วนแนวทางในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มผู้เสียภาษี คือ เทศบาลตำบลยางคราม ควรให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับภาษีต่าง ๆ และเพิ่มเวลาในการให้บริการแก่ผู้เสียภาษีในช่วงเวลาพักเที่ยงและในวันหยุดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectการจัดเก็บภาษี--ไทยth_TH
dc.subjectการจัดการรายได้--ไทย--เชียงใหม่th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการจัดเก็บรายได้ของเทศบาลตำบลยางคราม อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่th_TH
dc.title.alternativeStudy of problems and problem-solving guidelines of revenue collection of Yangkham Municipality Doilor District, Chiangmai Provinceth_TH
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study were to study 1) the problems of revenue collection of Yangkham Municipality, Doilor District, Chiangmai Province. 2) the guidelines of revenue collection of Yangkham Municipality, Doilor District, Chiangmai Province. This study was a survey research. The population were 4,961 tax payers and 4 revenue collecting officers. Sample of 370 were obtained by using Taro Yamane formula. A questionnaire was used for data collecting with simple random sampling method. The 4 revenue collecting officers were interviewed using in depth interview form. Statistical analysis used in this study were frequency, percentage, mean and standard deviation. The results of this study regarding to revenue collecting officers were founded that 1) the revenue collecting officers were lack of working experience and clear knowledge about types of tax, lack of budget to develop its personnel to work as revenue collecting officers, lack of facilities, and the municipality's publicity was not well-cover and the revenue collecting information system was not good. 2) the municipality should arrange frequent training to its revenue collecting officers, allocate more budget, and renovate its buildings, improve an efficiency of the revenue collecting information system and provide adequate facilities for the service. Regarding to the group of tax payers the result shown that 1) there were problems in tax paying procedure and the municipality’s facilities. 2) the tax payers suggested that the municipality should conduct trainings to tax payers about different kind of taxes and should offer tax collecting service during lunch time and holidays.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159423.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.9 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons