Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/774
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorช่อทิพย์ บรมธนรัตน์th_TH
dc.contributor.authorทรรศน์พร ไหมสมบุญ, 2505-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-18T11:35:48Z-
dc.date.available2022-08-18T11:35:48Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/774-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในพื้นที่ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 4 (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหารและแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคล การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหารและแรงจูงใจกับผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และ (4) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ เจ้าหน้าที่สถานีอนามัยระดับตำบล ผู้รับผิดชอบงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จำนวน 209 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ และสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับดีมาก (2) คุณลักษณะส่วนบุคคล ส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 38.88 ปี มีสถานภาพสมรสคู่ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ดำรงตำแหน่งนักวิชาการ มีรายได้เฉลี่ย 18,963 บาท อายุราชการเฉลี่ย 17 ปี และระยะเวลาที่รับผิดชอบงานเฉลี่ย 11.15 ปี การสนับสนุนจากองค์กรแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง และกระบวนการบริหารอยู่ในระดับสูง (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ การสนับสนุนจากองค์กร กระบวนการบริหาร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้งปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุน (4) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ได้แก่ งบประมาณล่าช้า ทรายทีมีฟอส และน้ำยาบางครั้งไม่เพียงพอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควร สนับสบุนงบประมาณและเคมีภัณฑ์ให้เพียงพอ ทันเวลา และการรับแจ้งผู้ป่วยข้อมูลไม่ครบถ้วนควรปรับปรุงระบบการรายงานให้ทันเวลา ข้อเสนอแนะ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ได้รับการพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับทักษะการใช้เครื่องพ่นเคมี การสอบสวนและควบคุมโรคไข้เลือดออก การประชุมเชิงปฏิบัติการในการจัดทำแผนร่วมกับโรงพยาบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประสานแผนการดำเนินงาน รวมทั้งส่งเสริมความก้าวหน้าในการทำงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceReformatted digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectไข้เลือดออก--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectเจ้าหน้าที่สาธารณสุข--การทำงานth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ในพื้นที่ตรวจราชการสาธารณสุขเขต 4th_TH
dc.title.alternativeFactors related to the performance of subdistrict health officers in Public Health Region 4 according to standard operating procedures for dengue haemorrhagic fever prevention and controlth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this cross-sectional survey research were to: (1) study the performance of subdistrict health officers in Public Health Region 4 according to the standard operating procedures for dengue hemorrhagic fever (DHF) prevention and control; (2) identify personal characteristics, organizational support factors, management process and motivation for program operation; (3) study the relationship between personal characteristics, organizational support factors, management process and motivation and the performance in DHF prevention and control; and (4) identify the problems/obstacles in and suggestions for program operation. The study sample was 209 subdistrict health officers who were responsible for DHF prevention and control, selected by using the purposive sampling method. Data were collected by using a questionnaire whose reliability level was 0.92. Descriptive statistics were used for data analysis, including chi-square test and Pearson’s product-moment correlation coefficient. The research results revealed that: (1) the performance of most subdistrict health officers according to the standard operating procedures for DHF standard prevention and control was at a high level; (2) regarding personal characteristics of personnel, most of them were male with an average age of 38.38 years, married, bachelor’s degree holders, technical position holders with an average income of 18,963 baht/month, and having the average civil service tenure of 17 years and average duration in this program of 11.15 years; the levels of organizational support and motivation were moderate while the level of management process was high; (3) the factors significantly associated with the performance (p <0.05) according to the standard operating procedures for DHF prevention and control were organizational support factors, management process, and work motivation (both motivation and hygiene factors); (4) the problems/obstacles in program operation were delayed budget allocation, insufficient amounts of temephos sand granules and fogging chemicals, and incomplete information about patients. It is thus recommended that the provincial health office, relevant hospitals and local administrative organizations should provide adequate budget and chemicals in a timely manner, and that the reporting system should be improved for timely operation. The recommendations for the provincial and district health offices are as follows: support should be provided for subdistrict health personnel to enhance their potential and skills in fogging machine use and DHF investigation and control, and participation in a planning workshop together with staffs of hospitals and local administrative organizations for operational cooperation, and to promote career advancementen_US
dc.contributor.coadvisorสุรเดช ประดิษฐบาทุกาth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
105494.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons