Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7780
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวสุ สุวรรณวิหคth_TH
dc.contributor.authorจิตราพร กันธิโน, 2528-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-14T07:31:56Z-
dc.date.available2023-07-14T07:31:56Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7780en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และภาพรวมของการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มของประเทศไทย และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย และองค์ประกอบด้านรายจ่ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และข้อมูลตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นรายไตรมาส พ.ศ. 2542 ถึงพ.ศ. 2561 รวม 20 ปี ทั้งหมด 80 ไตรมาสประกอบด้วย รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และองค์ประกอบด้านรายจ่ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การทดสอบความนิ่งของข้อมูลอนุกรมเวลา การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.76 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีหลัง มีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.60 และจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเฉลี่ยร้อยละ 7.06 โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีมาตรการในการเพิ่มประเภทกิจการให้เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สำหรับปัญหาสำคัญที่พบคือ การใช้ใบกำกับภาษีปลอม และ (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และมูลค่าการส่งออกสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลแบบทิศทางเดียวกับรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือตัวแปรทั้งสามเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและมูลค่าการส่งออกสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้นกับรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและมูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพด้วยความเร็วร้อยละ 45.60 และ 27.97 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาษีมูลค่าเพิ่ม--ไทยth_TH
dc.subjectผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจth_TH
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทยth_TH
dc.title.alternativeRelationship between value added tax and gross domestic product of Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were 1) to examine the situation and get an overview of the Value Add Tax (VAT) collection of Thailand and 2) to investigate the relationship between VAT revenue, Thailand’s gross domestic product, and the expenditure components of gross domestic product. In this study, the secondary data relating to VAT was collected and the variables used for the analyses, based on a quarterly basis which covered the periods between 1999 to 2018, 20 years or 80 quarters, included VAT revenue, gross domestic product, and expenditure components of gross domestic product. These data were analyzed by descriptive statistics and econometric methods, namely testing for stationary in a time-series, causal relationship, as well as long-run and short-run equilibrium relationships. The results showed that (1) The average value of VAT collected in the past twenty years was 6.05 % of the gross domestic product and its average growth rate was 6.76 %. In addition, the average growth rate in the last five years was only 2.60 %, and this collected amount was 7.06 % less than the estimated level. It was expected that the government would have the measures to add the types of enterprise into the VAT system. For the problem, the fake tax invoice was a major one, (2) gross domestic product, consumption expenditure and export value had a positive causal relationship with the VAT revenue. That is, the first three variables were the cause of the change in VAT revenue. In particular, the consumption expenditure and export value had the long-run and short-run equilibrium relationships with VAT revenue. Also, their speed of adjustment to equilibrium was, respectively, 45.60 % and 27.97 %, at a 0.01 statistical significance levelen_US
Appears in Collections:Econ-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.34 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons