กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7780
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between value added tax and gross domestic product of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุ สุวรรณวิหค
จิตราพร กันธิโน, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม--ไทย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ--ไทย
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์และภาพรวมของการจัดเก็บภาษี มูลค่าเพิ่มของประเทศไทย และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย และองค์ประกอบด้านรายจ่ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ในการศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และข้อมูลตัวแปรต่าง ๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นรายไตรมาส พ.ศ. 2542 ถึงพ.ศ. 2561 รวม 20 ปี ทั้งหมด 80 ไตรมาสประกอบด้วย รายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และองค์ประกอบด้านรายจ่ายของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ โดยวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีวิเคราะห์ทางเศรษฐมิติ ได้แก่ การทดสอบความนิ่งของข้อมูลอนุกรมเวลา การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และการทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้น ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มของไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 6.05 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และมีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.76 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยในช่วง 5 ปีหลัง มีค่าเฉลี่ยเพียงร้อยละ 2.60 และจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการเฉลี่ยร้อยละ 7.06 โดยคาดว่ารัฐบาลจะมีมาตรการในการเพิ่มประเภทกิจการให้เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น สำหรับปัญหาสำคัญที่พบคือ การใช้ใบกำกับภาษีปลอม และ (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และมูลค่าการส่งออกสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงเหตุผลแบบทิศทางเดียวกับรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือตัวแปรทั้งสามเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและมูลค่าการส่งออกสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาว และมีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะสั้นกับรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและมูลค่าการส่งออกมีการปรับตัวในระยะสั้นเพื่อเข้าสู่ดุลยภาพด้วยความเร็วร้อยละ 45.60 และ 27.97 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7780
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.34 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons