กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7801
ชื่อเรื่อง: ความเป็นไปได้ทางเทคนิคและจุดคุ้มทุนในการใช้กังหันลมผลิตไฟ้ฟ้าขนาดเล็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technical possibility and break-even point in small windmills generator / Technical possibility and break-even point in small windmills generator
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนันต์ สมประสงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กังหันลม
ไฟฟ้า--การผลิต
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
ต้นทุนการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว ประเทศเปิดใหม่อย่างอินเดีย และจีน มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์สูงอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้การบริโภคน้ำมันมีอัตราพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนคาคการณ์ว่าน้ำมันดิบมีโอกาสราคาเพิ่มขึ้นถึง 100 ดอลล่าต่อบาร์เรล อีกทั้งปัญหาภาวะโลกร้อน (Green House Effect) อันเกิดจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล มีผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น หิมะน้ำแข็งบนขั้วโลกละลายออกมามากกว่าปกติ ระดับน้ำทะเลเพิ่มมากขึ้นจนมีคำกล่าวว่าน้ำอาจจะท่วมโลก จากปัญหาดังกล่าวเป็นแรงขับดันให้มนุษย์กลับมามองหาพลังงานทดแทนอย่างอื่น ที่ไม่ก่อเกิดมลภาวะกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ พลังงานลมจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจเพราะเป็นพลังงานสะอาด มีมากมายเหลือเฟือไม่มีวันหมด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคในการนำพลังงานลมมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า (2) เพื่อศึกษาจุดคุ้มทุนของพลังงานลมในการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงสำรวจเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ ทางเทคนิคในการนำกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาใช้งานในประเทศไทย โดยศึกษาแบบกังหันลม ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตจาก Web site ผู้ผลิตกังหันลมจากทั่วโลก เพื่อหาแบบกังหันลมที่เหมาะสมกับสภาพลมในประเทศไทย ที่มีปริมาณความเร็วลมต่ำ 2-3 m/s ศึกษาปริมาณความเร็วลมเฉลี่ยในประเทศทุกจังหวัด ว่าบริเวณใดจังหวัดใดมีปริมาณลมมากพอ ที่จะนำกังหันลมมาใช้งานได้ ศึกษาจุดคุ้มทุนของกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาค 1,000 W. และ 3,000 W. ที่มีขายในท้องตลาด ว่ามีจุดคุ้มทุนที่เท่าไร มีความเป็นไปได้หรือน่าสนใจที่จะนำมาใช้งานจริงหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่า กังหันลมที่เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นกังหันลมในแนวผสมกับ แบบ Savonius เพราะใช้ความเร็วลมในการเริ่มหมุนต่ำ ความเร็วรอบที่ได้จาการเปลี่ยนความเร็วลมเป็นการหมุนสูง เหมาะกับการนำมาใช้ปั่นกระแสไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันมีบริษัทในต่างประเทศเริ่มนำเอาความได้เปรียบในจุดนี้ มาผลิตกังหันลมลูกผสมออกจำหน่ายในท้องตลาด การศึกษาจุดคุ้มทุนพบว่า กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 1000 w. จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 7.76 ปี กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาด 3000w. จุดคุ้มทุนอยู่ที่ 4.21 ปี เปรียบเทียบกับโซล่าเซลในขนาดเท่ากัน พบว่าจุดคุ้มทุนจะอยู่ที่ 10-15 ปี ดังนั้น การใช้กังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กจะคุ้มค่ากว่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_112803.pdf3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons