กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7808
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรบริหารส่วนตำบลท่าฉนวนและองค์กรบริหารส่วนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Work motivation of Tachanaun and Nongtoom sub-district administrative organizations' personnel, Sukhothai Province / Work motivation of Tachanaun and Nongtoom sub-district administrative organizations' personnel, Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวดี มาตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
กีรติกานต์ สุธีรยงประเสริฐ, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การจูงใจ (จิตวิทยา)
การจูงใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวนและองค์กรบริหารส่วนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย (2) เปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวน และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม (3) ข้อเสนอแนะ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวนและองค์กรบริหารส่วนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวนและองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย จำนวน 112 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน และการทคสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวนและองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับแรงจูงใจด้านความสำเร็จของงานมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่วนด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลท่าฉนวน ส่วนตำบลหนองตูมทุกด้านไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นด้านความรับผิดชอบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (3) ข้อเสนอแนะเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจได้แก่ ควรปรับคำตอบแทนให้สูงขึ้นและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ควรมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้เพียงพอในการปฏิบัติงาน และควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อเชื่อมความสามัคคีในการปฏิบัติงานร่วมกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_119308.pdf4.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons