Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7867
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจุฑามาศ มุทธากาญจน์, 2529--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-07-17T07:20:38Z-
dc.date.available2023-07-17T07:20:38Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7867-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี (2) เปรียบเทียบความแตกต่างของแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี จำแนกตามที่ตั้งของประชากร (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี จำแนกรูปแบบของร้านขายยา (4) ศึกษาสภาพการแข่งขันธุรกิจร้านขายยาในเขตจังหวัดเพชรบุรีที่นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์จำแนกตาม การเปิดการค้าเสรี การศึกษาครั้งนี้เป็นวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และ การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรคือ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายยาประเภท 1 ในเขตจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 96 ราย กำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 77 ราย ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ สถิติเชิงอนุมาน ใช้การทดสอบค่าเอฟ และวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบ (1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรีของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ พบว่ามีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปน้อย พบว่า ด้านเทคนิคและการบริการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านกฎระเบียบ จรรยาบรรณของร้านขายยา (2) เมื่อเปรียบเทียบแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรีของผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายยาที่มีสถานที่ตั้ง แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี ในภาพรวมที่ไม่แตกต่างกัน (3) เมื่อเปรียบเทียบแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรีของผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายยา ที่มีรูปแบบของร้านขายยาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี ไม่แตกต่างกัน (4) จากการวิเคราะห์เนื้อหาพบว่า สภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมร้านขายยาในเขตจังหวัดเพชรบุรี ผู้ประกอบการสามารถวางแผนกำหนดแผนกลยุทธ์การปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรี โดยใช้กลยุทธ์การเติบโต แบบเจาะตลาด มีการสร้างความแตกต่างในมูลค่า และมุ่งเน้นกลยุทธ์ทางการตลาดที่จะเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้าง รายได้ให้แก่กิจการได้อย่างมั่นคง และเติบโตอย่างยั่งยืนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการค้าเสรีth_TH
dc.subjectการค้าเสรี--กลุ่มประเทศอาเซียนth_TH
dc.subjectประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนth_TH
dc.subjectร้านขายยา--ไทย--เพชรบุรีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.titleแนวทางการปรับตัวต่อการเปิดการค้าเสรีในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบการธุรกิจร้านขายยาในเขตจังหวัดเพชรบุรีth_TH
dc.title.alternativeAdaptation guideline to free trade in asean economic community the pharmacy stores in Petchburi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were (1) to study the factors influenced the adaptation of pharmacy stores in Phetchaburi province to free trade; (2) to compare the difference of the adaptation approaches to free trade classified by locations; (3) to compare the difference of adaptation approaches to free trade classified by types of pharmacy stores; and (4) to study the business competition among pharmacy stores in Phetchaburi province led to a strategic planning for free trade classified by free trade. The study adopted the mixed research method of quantitative and qualitative. The population was 96 pharmacy store operators type 1 in Phetchaburi province. The sample was 77 by using multi-stage sampling method with 95% confidence level. The data was collected by using a questionnaire and was analyzed by using mean, percentage and F-test whereas the quality data was analyzed by applying content analysis. The results showed that (1) overall the factors influenced the adaptation of pharmacy stores in Phetchaburi province to free trade at high level. Technique and service factors, regulation, and ethics of pharmacy stores were high respectively; (2) overall different locations did not influence the adaptation of pharmacy stores in Phetchaburi province to free trade; (3) different types of pharmacy stores did not influence the adaptation of pharmacy stores in Phetchaburi province to free trade; and (4) pharmacy store operators could set up the strategic plan to free trade by applying market penetration strategy, value differentiation, and focusing on marketing strategies for sustainable growth of the businesses.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148731.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons