Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7872
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เชาว์ โรจนแสง | th_TH |
dc.contributor.author | รัชนีพร สุขสม, 2507- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-17T07:37:10Z | - |
dc.date.available | 2023-07-17T07:37:10Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7872 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้า ที่มีต่อรูปแบบและคุณภาพการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ไทย (2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ไทยในกลุ่มธนาคารที่ต่างกัน (3) ศึกษาแนวคิด ทิศทาง และกลยุทธ์การปรับตัวของธนาคารพาณิชย์ไทยในการแข่งขันและการดำรงอยู่ของธุรกิจ การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารเอกชน จำนวน 240 คน ผู้ใช้บริการธนาคารรัฐ จำนวน 110 คน และ ผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง จำนวน 50 คน รวม 400 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธี เชฟเฟ (Scheffe's test) โดยใช้ โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพึงพอใจของลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารพาณิชย์ไทย มีค่าเฉลี่ย รวมทุกด้านของรูปแบบและคุณภาพการให้บริการอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจ ด้านการประชาสัมพันธ์สูงกว่าด้านอื่นๆ และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ ด้านราคา (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อการให้บริการของธนาคารพาณิชย์ไทย ในกลุ่มธนาคารที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารรัฐมีความคิดเห็นทางด้านรูปแบบและคุณภาพการให้บริการรวมทุกด้านแตกต่างไปจากกลุ่มธนาคารเอกชน ผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารรัฐมีความคิดเห็นทางด้านราคาต่างไปจากกลุ่มธนาคารเอกชนและกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง ผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารเอกชน มีความคิดเห็นทางด้านการส่งเสริมการขายแตกต่างไปจากกลุ่มธนาคารรัฐและกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง และผู้ใช้บริการกลุ่มธนาคารรัฐมีความคิดเห็นทางด้านการประชาสัมพันธ์แตกต่างไปจากกลุ่มธนาคารลูกครึ่ง (3) ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องเร่งปรับกลยุทธ์การดำเนินงานทุกด้านเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและการดำรงอยู่รอดของธุรกิจ พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบและคุณภาพการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า และมุ่งสร้างความพอใจให้กับลูกค้า เพื่อให้เกิดความประทับใจและมีความจงรักภักดีต่อธนาคาร | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2003.235 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ธนาคารไทยพาณิชย์--การบริหาร | th_TH |
dc.subject | ธนาคารไทยพาณิชย์ | th_TH |
dc.title | กลยุทธ์การให้บริการของธนาคารพาณิชย์ไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Service strategies of Thai commercial banks | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/STOU.the.2003.235 | - |
dc.identifier.url | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2003.235 | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were (1) to study the opinions of customers towards services of Thai commercial banks (2) to compare the levels of their opinions based on services of different types of Thai commercial banks (3) to study plans, directions and the strategies to adapt of Thai commercial banks for competition and survival. This research is a survey using questionnaires. The sample was separated into 3 groups, comprising of 240 customers of private-sector banks. 110 customers of state-ow|ned banks and 50 customers of foreign-owned banks, a total of 400. The questionnaire data were computed by using SPSS program. The statistics used were percentage, average, standard deviation, variation of One Way ANOVA and a test of the difference of the samples groups’ average by Scheffe’s test. The research findings showed that (1) On average, customer satisfaction towards services of Thai commercial banks was highest towards public relations factors . and lowest towards price factors. (2) The comparative opinions of the customers between services at different types of Thai commercial banks were significantly different at a level of .05 and are summarized as follows: The majority of customers at state-owned banks had opinions towards services, which were different from those at private-sector banks. The majority of customers at state-owned banks had opinions on price factors, different from private-sector banks and foreign-owned banks. The majority of customers at private-sector banks had opinions on sales promotion factors, different from state-owned banks and foreign-owned banks. The majority of customers at state-owned banks had opinions on public relations factors, different from foreign-owned banks. (3) At the present time in rapidly changing environment of intense competition in financial markets. Thai commercial banks have to adapt their strategies in various aspects to keep their competitiveness and continue to survive. In addition, it is imperative for them to operate efficiently and create satisfaction among customers. They must respond to demand to impress customers and keep their loyalty. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License