Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7886
Title: ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศของพนักงานบริษัทเนสิค (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Environmental factors related to smart office technology acceptance of the Staffs of NESIC (Thailand) Company Limited
Authors: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิราภรณ์ ทองใบ, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: บริษัทเนสิค (ประเทศไทย)--พนักงาน
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
สำนักงานอัตโนมัติ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการ ทำงานและการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศของพนักงานบริษัทเนสิค(ประเทศไทย) จำกัด 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศของพนักงานบริษัทเนสิค (ประเทศไทย) จำกัด และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต้านสภาพแวดล้อมในการทำงานกับการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศของพนักงานบริษัทเนสิค(ประเทศไทย) จำกัด การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ พนักงานบริษัท เนสิค (ประเทศ ไทย) จำกัด จำนวน 205 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยการคำนวณจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ใช้ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง 152 คน ใช้วิธีเลือก ตัวอย่างแบบโควต้า สถิติที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์!พียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ลำดับแรกคือด้านสัมพันธภาพ รองลงมาคือ ด้านความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานและลำดับสุดท้ายคือ ด้านการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงาน และระดับการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทสมาร์ทออฟฟิศโดยรวมและรายต้านอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ สาขาที่จบการศึกษาและระดับของพนักงานที่แตกต่างกันมีระดับความคิดเห็นต่อการ ยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 3) ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศ โดยมี ความสัมพันธ์ทางบวกที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านสัมพันธภาพอยู่ในระดับสูง รองลงมาคือด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และ ลำดับสุดท้าย คือด้านการคงไว้และการเปลี่ยนแปลงระบบงาน ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7886
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154972.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons