Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7894
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorขจรศักดิ์ สิทธิ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวันทนีย์ คงทอง, 2531--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-07-17T08:31:40Z-
dc.date.available2023-07-17T08:31:40Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7894-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ (2) ศึกษาบทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำทางศาสนาอิสลาม ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ การศึกษานี้เป็นการวิจัยผสานวิธี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้นำศาสนาอิสลาม ประกอบด้วย อิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น คณะกรรมการอิสลามและครูผู้สอนศาสนาจากมัสยิดต่าง ๆ ในเขตพื้นที่อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานนอกจากนี้ ยังมีกลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำศาสนาอิสลาม และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า บทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองด้านการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านกิจกรรมพรรคการเมืองของผู้นําศาสนาอิสลาม และด้านการติดตามประเด็นสาธารณะอยู่ในระดับสูงทุกด้าน การรับรู้ข่าวสารทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามผ่านสื่อต่าง ๆ มีการใช้สื่อทางสังคมรูปแบบใหม่ การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม และมีการพบปะพูดคุยในรูปแบบเผชิญหน้า ในลักษณะกลุ่ม 5-6 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่าบทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามมีการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ทางการเมืองเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและร่วมทํากิจกรรมต่าง ๆ ของพรรคการเมือง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวไม่ถือว่าขัดต่อหลักการทางศาสนา เพราะศาสนาอิสลามไม่ได้แบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาออกจากกันอย่างเด็ดขาด สําหรับกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลามในรูปแบบอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ การกล่อมเกลาผ่านทาง (1) ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิด มีการสอนเด็กและเยาวชนมุสลิมตั้งแต่อายุ 6-15 ปี สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง (2) การประชุมประจำเดือนของชมรมผู้นำศาสนาอิสลาม อำเภอเมืองกระบี่ ทุกวันที่ 10 ของเดือน (3) กิจกรรมงานเมาว์ลิดกลางจังหวัดกระบี่ มีการจัดต่อเนื่องทุกปี โดยเป็นกิจกรรมที่เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2523 ถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 40 ปี (4) การเผยแพร่ความคิดผ่านสถานีวิทยุของสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจําจังหวัดกระบี่ โดยมีการออกอากาศทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการสร้างการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านกลไกการสื่อสารในรูปแบบที่สำคัญและปรากฏเด่นชัดth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectผู้นำศาสนาอิสลาม--ไทย--กระบี่--กิจกรรมทางการเมือง.th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองth_TH
dc.titleบทบาทและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้นำศาสนาอิสลาม : กรณีศึกษา อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeThe roles and political participation of Islamic leaders: a case study of Muang Krabi District, Krabi Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชารัฐศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the political socialization process of Islamic leaders in Muang Krabi District, Krabi Province, and (2) to study the roles and political participation of Islamic leaders in Muang Krabi District, Krabi Province. Both quantitative and qualitative research were conducted in this study, in which there were two sample groups. The quantitative sample group of 200 Islamic leaders, consisting of Imams, Koteb, Bilan, the Islamic Committee, and Mullahs from various mosques in Muang Krabi District, Krabi Province. Questionnaires were used as a research tool to obtain data. The data was analyzed by percentage, average, and standard deviation. In addition, qualitative sample group of 15 Islamic leaders and related people were interviewed using in-depth interviews and descriptive analysis. The results showed that the roles and political participation in democratic governance, especially in the aspect of electoral rights, political party activities of Islamic leaders and monitoring public issues were high in all aspects. There were many channels of political perception of Islamic leaders, such as the social media, satellite television and face-to-face group discussions (five to six times per week). Moreover, the research found that the roles and political participation of Islamic leaders included participating in political activities, being a member of a political party and participating in political party activities. Those activities were not considered to be against religious principles because Islam did not clearly distinguish between politics and religion. The main patterns of Islamic leaders' political socialization process were following: (1) An Islamic religious and ethical training center at the mosque, where Muslim children and youth aged 6–15 were taught for at least 5 hours per week. (2) Monthly meeting of the Islamic Leaders' Club in Mueang Krabi District was held every 10th day of the month. (3) The Maulid Festival in Krabi has been organized every year since 1980 to the present for more than 40 years. (4) The Islamic Committee of Krabi disseminated ideas via a radio station that broadcasted 24 hours a day, creating a political socialization process through an important communication mechanismen_US
Appears in Collections:Pol-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.44 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons