Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7910
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.advisor | นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม, อาจารย์ที่ปรึกษา | th_TH |
dc.contributor.author | ชยันตี วิวัสวัต, 2500- | - |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-18T03:37:20Z | - |
dc.date.available | 2023-07-18T03:37:20Z | - |
dc.date.issued | 2547 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7910 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดของผลิต ภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้า (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทร้านค้ากับส่วนประสมการ ตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวง (3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาด ของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จัดการร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการหลวงได้แก่ ผู้จัด การร้านค้าของโครงการหลวง ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าประจำ รวม 85 คน ได้จากการสุ่มตัว อย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นแบบ สอบถามเกี่ยวกับ การศึกษากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงใน 4 ด้านคือ ด้าน ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการจำหน่าย สถิติที่ใช้ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาส่วนประสมการตลาดมีรายละเอียดในแต่ละ ด้านดังนี้ ก) ด้านผลิตภัณฑ์ ผักสดที่มีจำหน่ายในร้านค้า และผู้บริโภคซื้อเป็นส่วนใหญ่ คือ ผักสด ตรา “ดอยคำ ” โดยร้านค้าร้อยละ 61.18 มีปริมาณผักสดตรา “ดอยคำ” ไว้จำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณผักทั้งหมด สำหรับบรรจุภัณฑ์ของผักสดตรา “ดอยคำ” จูงใจน่าซื้อใกล้เคียงกับตรา อื่นคิดเป็นร้อยละ 62.35 ข) ด้านราคา ผักสดตรา “ดอยคำ” มีราคาสูงกว่าผักตราอื่นๆ และจาก การสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจราคาในระดับปานกลาง และราคาของผักสดยังไม่ค่อย เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ตํ่า ค) ด้านช่องทางการจำหน่าย ส่วนใหญ่ร้านค้าจะจำหน่าย ผักสดตรา “ดอยคำ” เกือบทุกสาขา และมีความเห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อผักสดเนื่องจาก ผลิตภัณฑ์ตรา “ดอยคำ” เป็นผักสดที่ สะอาด ปลอดภัย โดยมีระบบการขนส่งและการเก็บรักษา ให้คงความสดที่มีความเหมาะสม ง) ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ร้านค้าร้อยละ 95.29 เห็นว่าควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดนิทรรศการ และร้อยละ 92.94 เห็นว่าควรมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อเน้นตราผลิตภัณฑ์ (2) ประเภทร้านค้ามีความสัมพันธ์กับ ความต้องการมีผัก สดตรา “ดอยคำ” ไว้จำ หน่ายจำนวนผู้บริโภคที่ถามหาผักสดตรา “ดอยคำ” คุณลักษณะของผัก สดตรา “ดอยคำ” กับผักสดตราอื่นๆ ความเห็นด้านราคาเปรียบเทียบกับตราอื่น ความเหมาะสม ของการขนส่งและการเก็บรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับราคา เหตุผลที่ผู้บริโภคนิยมซื้อผักสดตรา “ดอยคำ” การส่งเสริมยอดขายทางอินเทอร์เน็ต การทดลองแถมผลิตภัณฑ์เมื่อลูกค้าซื้อจำนวน มาก ซึ่งเป็นส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นไม่สัมพันธ์กัน (3) สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดมีดังนี้ ก) ด้านผลิตภัณฑ์ ควรเพิ่มชนิดผักอินทรีย์มากขึ้น บรรจุภัณฑ์ควรจะออกแบบดึงดูดความสนใจ ลูกค้า ข) ด้านราคา ควรปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีราคาอยู่ในช่วงที่ให้ผู้บริโภคที่มี รายได้น้อยได้มีโอกาสบริโภคผักปลอดสารได้ด้วย ค) ด้านช่องทางการจำหน่าย ควรขยายการ จำหน่ายให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ง) ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ควรจัดส่งเสริมรายการสินค้า มากขึ้น เพิ่มความถี่ในการโฆษณาทางสื่อต่างๆ มากขึ้นและขยายตลาดไปในส่วนที่มีศักยภาพ มากขึ้น | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2003.158 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | โครงการหลวง | th_TH |
dc.subject | ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง | th_TH |
dc.title | การศึกษาส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้าในเขตกรุงเทพมหานคร | th_TH |
dc.title.alternative | Study of the Royal Project product's marketing mix of store in Bangkok metropolitan area | th_TH |
dc.type | Thesis | th_TH |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This objective of this research was to (1) Study the marketing mix of the royal project products (2) Study the relationship between the type of stores and the marketing mix of the royal project products (3) Study the views of stores on the strategies of marketing mix of the royal project products. The group of samples were 85 managers of the stores selling the royal project products which consisted of the managers of the royal project stores, supermarkets and regular stores and shops. With the multistage random sampling technique and the data collected by using the questionnaires made by the researcher, the questionnaires were about the study of the marketing strategy of the 4 aspects of the royal project products, namely, products, price, selling channels and sale promotion. The statistical tools used in analyzing the data were percentage, Chi-square testing statistical value and content analysis. The result of the research was found that (1) the study of the marketing mix contributed the details in each aspect as follows : a) On the product, the fresh vegetables were available in the stores and shops and most vegetables bought by consumers were those of Doi Kham Brand, 61.18% of stores and shops had Doi Kham Brand vegetables for sale in stores, equivalent to 25% of all the vegetables available in stores and shops. 62.35% of Doi Kham fresh vegetable packages were approximately induced by the buyers when comparing to other brands, b) On the price, Doi Kham Brand fresh vegetable prices were higher than those of other brands and base on the survey the consumers were found to satisfy with the price in the intermediate level and the fresh vegetable prices were not fit for the low income consumers, c) On the selling channels, almost all the store branches were selling Doi Kham Brand fresh vegetables and viewed that most consumers preferred to buy fresh vegetables due to the name of Doi Kham Brand which were fresh, clean and safe with the transportation and storage systems that always maintained the proper freshness, d) On the sale promotion, 95.29% of the stores and shops saw that the exhibition should be promoted and 92.94% deemed that the advertisement and publicity should be made to focus on the product brand. (2) The type of stores were related to the need to have the fresh vegetables for sale, the number of consumers asking for Doi Kham Brand fresh vegetables, Doi Kham fresh vegetable specifications comparing to other brands, the views on the prices comparing to those of other brands, the suitability of transportation and storage comparing to the prices, reasons for the consumers selected to buy Doi Kham fresh vegetables, Sale promotion on the internet, experiment on the giveaway of products when large amount of them were bought by the consumers which was the marketing mix of the royal project products with the statistical significance of 0.05 level, all the others were not related to each other at all. (3) For the views on the strategy of the marketing mix of products was as follows : a) on the products, the type of organic vegetables was considered to be added for more variety and the product packages should have been designed to attract the consumers’ interests, b) on the prices, the strategy should have been improved to expand the customer bases for the price to be in the stretch that the low income customers would have been able to buy them too, c) on the selling channel, the sale should have been expanded to be more accessed by the customers, d) on the sale promotion, more items of products should have been promoted and to increase more frequency of advertisement on the media and to expand the market to more potential sections | en_US |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License