Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7910
Title: | การศึกษาส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้าในเขตกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Study of the Royal Project product's marketing mix of store in Bangkok metropolitan area |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง ชยันตี วิวัสวัต, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ โครงการหลวง ผลิตภัณฑ์โครงการหลวง |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้า (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทร้านค้ากับส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวง (3) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงของร้านค้า กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จัดการร้านค้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์โครงการหลวงได้แก่ ผู้จัดการร้านค้าของโครงการหลวง ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านค้าประจำ รวม 85 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ซึ่งเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ การศึกษากลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวงใน 4 ด้านคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการจำหน่าย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าสถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การศึกษาส่วนประสมการตลาดมีรายละเอียดในแต่ละด้านดังนี้ ก) ด้านผลิตภัณฑ์ ผักสดที่มีจำหน่ายในร้านค้า และผู้บริโภคซื้อเป็นส่วนใหญ่ คือ ผักสดตรา “ดอยคำ ” โดยร้านค้าร้อยละ 61.18 มีปริมาณผักสดตรา “ดอยคำ” ไว้จำหน่าย คิดเป็นร้อยละ 25 ของปริมาณผักทั้งหมด สำหรับบรรจุภัณฑ์ของผักสดตรา “ดอยคำ” จูงใจน่าซื้อใกล้เคียงกับตราอื่นคิดเป็นร้อยละ 62.35 ข) ด้านราคา ผักสดตรา “ดอยคำ” มีราคาสูงกว่าผักตราอื่นๆ และจากการสำรวจ พบว่า ผู้บริโภคมีความพึงพอใจราคาในระดับปานกลาง และราคาของผักสดยังไม่ค่อยเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคที่มีรายได้ตํ่า ค) ด้านช่องทางการจำหน่าย ส่วนใหญ่ร้านค้าจะจำหน่ายผักสดตรา “ดอยคำ” เกือบทุกสาขา และมีความเห็นว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อผักสดเนื่องจากผลิตภัณฑ์ตรา “ดอยคำ” เป็นผักสดที่ สะอาด ปลอดภัย โดยมีระบบการขนส่งและการเก็บรักษาให้คงความสดที่มีความเหมาะสม ง) ด้านการส่งเสริมการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์ ร้านค้าร้อยละ 95.29 เห็นว่าควรมีการส่งเสริมให้มีการจัดนิทรรศการ และร้อยละ 92.94 เห็นว่าควรมีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์เพื่อเน้นตราผลิตภัณฑ์ (2) ประเภทร้านค้ามีความสัมพันธ์กับ ความต้องการมีผักสดตรา “ดอยคำ” ไว้จำ หน่ายจำนวนผู้บริโภคที่ถามหาผักสดตรา “ดอยคำ” คุณลักษณะของผักสดตรา “ดอยคำ” กับผักสดตราอื่นๆ ความเห็นด้านราคาเปรียบเทียบกับตราอื่น ความเหมาะสมของการขนส่งและการเก็บรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับราคา เหตุผลที่ผู้บริโภคนิยมซื้อผักสดตรา “ดอยคำ” การส่งเสริมยอดขายทางอินเทอร์เน็ต การทดลองแถมผลิตภัณฑ์เมื่อลูกค้าซื้อจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์โครงการหลวง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกนั้นไม่สัมพันธ์กัน (3) สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดมีดังนี้ ก) ด้านผลิตภัณฑ์ ควรเพิ่มชนิดผักอินทรีย์มากขึ้น บรรจุภัณฑ์ควรจะออกแบบดึงดูดความสนใจลูกค้า ข) ด้านราคา ควรปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อขยายฐานลูกค้าให้มีราคาอยู่ในช่วงที่ให้ผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยได้มีโอกาสบริโภคผักปลอดสารได้ด้วย ค) ด้านช่องทางการจำหน่าย ควรขยายการจำหน่ายให้เข้าถึงลูกค้ามากขึ้น ง) ด้านการส่งเสริมการจำหน่าย ควรจัดส่งเสริมรายการสินค้า มากขึ้น เพิ่มความถี่ในการโฆษณาทางสื่อต่างๆ มากขึ้นและขยายตลาดไปในส่วนที่มีศักยภาพมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7910 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License