กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7921
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between quality of work life and Organizational Commitment of the Personnel of Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชุลีพร รัมยะรังสิ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความพอใจในการทำงาน
ความผูกพันต่อองค์การ
คุณภาพชีวิตการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ (4) เสนอแนวทางการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานเพื่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ บุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 80 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรคณะเวชศาสตร์ เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความภาคภูมิใจที่มีต่อองค์การมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ และด้านการให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการครองชีพ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (2) ระดับความผูกพันต่อองค์การโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ความผูกพันต่อองค์การด้านบรรทัดฐาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือความผูกพันด้านความคงอยู่ และความผูกพันด้านจิตใจ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความผูกพันต่อองค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ (4) แนวทางในการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานเพื่อให้เกิดความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ ควรส่งสริมให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในอาชีพให้โอกาสบุคลากรได้พัฒนาศักยภาพและความสามารถ และการมีอิสระ เพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7921
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161937.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons