Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7949
Title: ประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Efficiency in sevice of buildings and facilities, Chulalongkorn University
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพชรา อินทรัตน์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
อาคาร--การจัดการ
อาคาร--การใช้ประโยชน์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการด้านอาคารและสถานที่อย่างมี ประสิทธิภาพ และ (3) วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ รวมทั้งการวิเคราะห์ จุดแข็งจุดอ่อน และข้อจำกัดโอกาสและอุปสรรค การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ ศึกษาเป็นประชากรของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คณาจารย์ จำนวน 126 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร จำนวน 170 คน และนิสิตระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาของคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5,132 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาครั้งนี้ คำนวณโดยใช้ สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำแนกออกเป็นคณาจารย์ 72 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร 98 คน นิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา 372 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการสุ่มตัวอยางแบบ แบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นิสิต ระดับปริญญาตรี และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยวิธีขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมากกว่าร้อยละ 80 (2) ปัจจัยการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางระดับสถิติ .05 (3) จุดแข็งคือผู้ให้บริการระดับหัวหน้างานมีความยืดหยุน ประนีประนอมและมีการประสานงาน ที่ดี กายภาพและภูมิทัศน์มีความสะอาดเรียบร้อย จุดอ่อน คือ บุคลากรไม่มีจิตสำนึกในการให้บริการ โอกาส คือ ส่งเสริมให้บุคลากรมีใจรักงาน บริการ อุปสรรค คือ ระเบียบพัสดุของทางราชการ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า งานจ้างเหมาบริการต่างๆ ขาดผู้จ้างเหมาบริการที่มีความสามารถและมีคุณภาพ ส่วนวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องให้ความสำคัญต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้โดยผู้บริหาร ต้องนำมาปรับใช้ทั้ง ด้านนโยบาย และด้านการดำเนินงาน โดยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหลักธรรมาภิบาล เช่น การให้บริการด้วยความเสมอภาคและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7949
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_140648.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons