กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7949
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency in sevice of buildings and facilities, Chulalongkorn University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
เพชรา อินทรัตน์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
อาคาร--การจัดการ
อาคาร--การใช้ประโยชน์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2) ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการด้านอาคารและสถานที่อย่างมี ประสิทธิภาพ และ (3) วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ รวมทั้งการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน และข้อจำกัดโอกาสและอุปสรรค การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เน้นการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ศึกษาเป็นประชากรของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ คณาจารย์ จำนวน 126 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร จำนวน 170 คน และนิสิตระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาของคณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 5,132 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษาครั้งนี้ คำนวณโดยใช้ สูตรของทาโร่ ยามาเน่ จำแนกออกเป็นคณาจารย์ 72 คน เจ้าหน้าที่บุคลากร 98 คน นิสิตระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา 372 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้วิธีการสุ่มตัวอยางแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยใช้แบบสอบถามคณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นิสิต ระดับปริญญาตรี และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้เก็บข้อมูลจากผู้บริหารของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าทางสถิติ ประกอบด้วย ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุโดยวิธีขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีมากกว่าร้อยละ 80 (2) ปัจจัยการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางระดับสถิติ .05 (3) จุดแข็งคือผู้ให้บริการระดับหัวหน้างานมีความยืดหยุน ประนีประนอมและมีการประสานงานที่ดี กายภาพและภูมิทัศน์มีความสะอาดเรียบร้อย จุดอ่อน คือ บุคลากรไม่มีจิตสำนึกในการให้บริการ โอกาส คือ ส่งเสริมให้บุคลากรมีใจรักงาน บริการ อุปสรรค คือ ระเบียบพัสดุของทางราชการ ทำให้การจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า งานจ้างเหมาบริการต่างๆ ขาดผู้จ้างเหมาบริการที่มีความสามารถและมีคุณภาพ ส่วนวิธีการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของงานอาคารและสถานที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องให้ความสำคัญต่อการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้โดยผู้บริหาร ต้องนำมาปรับใช้ทั้ง ด้านนโยบาย และด้านการดำเนินงาน โดยส่งเสริมให้มีการปฏิบัติหน้าที่ด้วยหลักธรรมาภิบาล เช่น การให้บริการด้วยความเสมอภาคและตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ เป็นต้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7949
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_140648.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.92 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons