Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7951
Title: ผลกระทบของการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของสหภาพยุโรปที่มีต่อการส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทย
Other Titles: Effects of European Union's trade barrier measures on Thailand 's chicken meat exporting
Authors: วิเชียร เลิศโภคนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อดิศักดิ์ เพ็ญจันทร์, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
เนื้อไก่ -- การส่งออก
การกีดกันทางการค้า
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงสภาพทั่วไปของการผลิต ตลาด และการส่ง ออกเนื้อไก่ของประเทศไทย (2) ศึกษาผลกระทบของการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของสหภาพยุโรป ที่มีต่อ การส่งออกเนื้อไก่ของประเทศไทย (3) เสนอแนวทางและมาตรการในการพัฒนาตลาดการส่งออกเนื้อไก่ของไทย กลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา คือ โรงฆ่าและชำแหละเนื้อไก่ของบริษัทฯที่ส่งออกเนื้อไก่ไป สหภาพยุโรป ซึ่งมีทั้งหมด 21 โรงงาน จาก 19 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถาม และเก็บ รวบรวมข้อมูลปฐมภมิ โดยการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริง และเก็บข้อมูลทุติยภูมิเพื่อให้งานวิจัยครั้งนี้สมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติ เชิงพรรณนา โดยการหาค่าสถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความถี่ ผลการวิจัยพบว่า (1) ประเภทของมาตรการกีดกันทางการค้าที่สหภาพยุโรปนำออกมาใช้ แล้วมีผลกระทบต่อการส่งออกไก่สดแช่แข็ง ของบริษัทผู้ส่งออกเนื้อไก่ ของประเทศไทยเรียงลำดับจากมากไปหา น้อย คือ มาตรฐานด้านสุขอนามัย รองลงมา คือ มาตรการทางด้านภาษีอากร มาตรการสวัสดิภาพสัตว์ การ บริหารโควตาภาษี การเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ และการปิดฉลากเนื้อสัตว์จากฟาร์ม ตามลำดับ (2) ในช่วงปี 2544-2545 ปริมาณการส่งออกไก่สดแช่แข็งไปยังกลุ่มสหภาพยุโรปของประเทศไทย มีอัตราลดลง ร้อยละ 19.57 มลูค่าการส่งออกมีอัตราลดลงเฉลี่ย ร้อยละ 21.51 ราคาไก่เนื้อเฉลี่ยปี 2545 มีราคาที่ต่ำกว่าราคาไก่เนื้อเฉลี่ยตั้ง แต่ปี 2540-2545 ทั้งนี้เพราะประเทศไทยประสบปัญหาจากการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะมาตรการทางด้านมาตรฐานด้านสุขอนามัย แต่สำหรับปริมาณการผลิตไก่เนื้อของประเทศไทยตั้งแต่ ปี 2540-2545 บริษัทผู้ส่งออกเนื้อไก่มีการเพิ่มปริมาณการเลี้ยงไก่เนื้ออย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าบริษัทผู้ส่งออกเนื้อ ไก่จะโดนกีดกันทางการค้าจากสหภาพยุโรปด้วยมาตรฐานด้านสุขอนามัย (3) ข้อเสนอแนะ รัฐควรร่วมมือกับเอกชนเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ๆ เร่งปรับปรุงมาตรฐานการผลิตเพิ่มศักยภาพการส่งออก ด้วยการศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบสินค้า เพื่อให้สามารถส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นพัฒนาสินค้าเนื้อไก่ให้เป็นสินค้าแปรรูปมากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7951
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83802.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons