Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7960
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorธิติพัฒน์ เอี่อมนิรันดร์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorชัยนรินทร์ ธีรไชยพัฒน์, 2502--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-18T08:04:51Z-
dc.date.available2023-07-18T08:04:51Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7960-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติที่มีต่อถุงยางอนามัยของกลุ่มนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการผู้บริโภคเกี่ยวกับถุงยางอนามัยของกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา (3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัย เฉพาะบุคคลกับทัศนคติที่มีถุงยางอนามัยของกลุ่มนักศึกษา ระดับอุดมศึกษา (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเฉพาะบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคเกี่ยวกับ ถุงยางอนามัยของกลุ่มนักศึกษาระดับอุดมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาเพศชายในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2546 สังกัดภาครัฐ และภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีเพศสัมพันธ์ โดยใช้ถุงยางอนามัยใน ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาก่อนการเก็บข้อมูล รวมทั้งสิ้น 8 สถาบัน จำนวน 400 คน การเก็บตัวอย่างได้มาจากการ สุ่มตัวอย่างแบบโดยบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองโดยข้อคำถามเป็นคำถามแบบ เลือกตอบข้อใดข้อหนึ่ง แบบตอบได้หลายข้อ และแบบมาตรประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบไค-สแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อถุงยางอนามัยทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติต่อวัตถุ ประสงค์ของการใชถุ้งยางอนามัย, ทัศนคติต่อสถานทีที่่ควรจัดให้มีถุงยางอนามัย, ทัศนคติเชิงบวกและลบที่มี่ ต่อถุงยางอนามัย, ทัศนคติด้านปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อถุงยางอนามัย (2) สื่อมีอิทธิพลต่อการรับ ทราบถึงประโยชน์ของถุงยางอนามัย และผลักดันให้นักศึกษาใช้ถุงยางอนามัย อัตราการใช้ถุงยางอนามัยทุก ครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่รักและเพื่อนหญิงน้อยกว่าหญิงไม่คุ้นเคย และหญิงให้บริการทางเพศ วัตถุประสงค์ การใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น ส่วนใหญ่ใช้ถุงยางอนามัย ชนิดผิวเรียบ ขนาดเหมาะสมกับตนเอง นักศึกษาไม่สนใจแบบ และยี่ห้อหากเกิดความต้องการใช้แล้วตรา/ยี่ห้อที่ ใช้ประจำ ไม่มี ซื้อจากร้านสะดวกซื้อ การเลือกซื้อพิจารณาจากคุณภาพ ได้รับข่าวสารข้อมูลจากโทรทัศน์ (3) ผล การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยเฉพาะบุคคลกับทัศนคติของนักศึกษาต่อถุงยางอนามัยพบว่า อาชีพ ของผู้ปกครอง และสถานภาพสมรสของผู้ปกครองของนักศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อทัศนคติของนักศึกษาที่มี ต่อถุงยางอนามัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) ผลการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยเฉพาะ บุคคลกับพฤติกรรมของนักศึกษาต่อถุงยางอนามัยพบว่า ระดับการศึกษาของผู้ปกครอง และอาชีพ ของผู้ปกครอง ของนักศึกษามีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติของนักศึกษาที่มีตาอถุงยางอนัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ .05th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectถุงยางอนามัยth_TH
dc.subjectพฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯth_TH
dc.titleพฤติกรรมการบริโภคถุงยางอนามัยกรณีศึกษา : นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeBehavior of condom consumption a case of : undergraduate student in Bangkok metropolitan areath_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis research’s objectives are 1. To study undergraduate students’ attitudes towards condom, 2. To study their behaviors of condom consumption, 3. To compare different specific personal factors with attitudes towards condom consumption and, 4. To study the relationship between specific personal factors with behavior in condom consumption. This research was conducted only in Bangkok. The sample of this research was selected from eight educational institution at the undergraduate level in Bangkok. The total of 400 male students consume condoms regularly and we collected information in depth only 3 month before conducting questionnaires concerning their behavior. Random sampling was the prefered method, with three types of question: only one answer, more than one answer and rating scale questionnaire. Analytical statistic types are percentage, mean, standard deviation, Fand Chi-square Test. The results are 1. Students have positive attitudes towards the five aspects of condom consumption: objectives of use, availability, positive and negative attitudes, and marketing mix factors, 2. Media are influential in condom awareness, encouraging correct use. The frequency of condom use with strangers and prostitutes is higher than with girlfriends or regular partners. The objectives of using condoms are to prevent pregnancy and infection. Most of them choose smooth skin condoms of a suitable size. They are not concerned with brand, buying whatever is in stock from convenience stores, considering quality. They obtain information about condom from television, 3. The result of comparing different specific personal factors with attitudes towards condom use is a statistically significant concerning their parents’ careers and marital status at a level of 0.05, 4. The result of comparting the relationship between their specific personal factors with their condom consumption behavior is statistically significant concerning of their parents’ educational level and careers, which influence their condom consumption behavior, at a level of 0.05en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
83819.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons