กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7964
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. 2557-2559)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The people participation in the three-years development plan of Subdistrict Administrative Organization in Bang Rak Noi, Mueang, Nonthaburi (Year 2557-2559)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมศักดิ์ นุ่มคล้าย, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย
การพัฒนาชนบท--การวางแผน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. 2557-2559) (2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา สามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. 2557-2559) ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และมีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนสำมะโนครัวประชากรในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี มีจำนวน 15,852 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ ข้อมูล ใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การ บริหารส่วนตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (พ.ศ. 2557-2559) ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผนอยูในระดับน้อย ด้านการมีส่วนร่วม ในการนำแผนไปปฏิบัติและด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์อยู่ในระดับปานกลาง และด้านการมีส่วนร่วมในประเมินผลอยู่ในระดับน้อย (2) กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและระยะเวลาในการอาศัยในพื้นที่แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมไม่แตกต่างกันแต่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7964
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_140993.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons