Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7972
Title: | ความต้องการมะม่วงน้ำดอกไม้ของผู้ส่งออกไทยเพื่อตลาดประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน |
Other Titles: | Thai exporters' demand for Nam Dok Mai mangos for the people's republic of China |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง องอาจ อ่ำรำไพ, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ สมจิตร ล้วนจำเริญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มะม่วงน้ำดอกไม้--ไทย การส่งออก--ไทย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ (1) ศึกษาความต้องการของผู้ส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้ของไทยที่ต้องการส่งไปจำหน่ายในตลาดประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (2) ศึกษาปัญหาและอุสรรคในการส่งออก และ (3) ศึกษามาตรฐานมะม่วงน้ำดอกไม้ของไทยที่เหมาะสมในการทำตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ส่งออกมะม่วง จำนวน 12 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความต้องการมะม่วงนํ้าดอกไม้ กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์มะม่วงนํ้าดอกไม้ที่ผู้ส่งออกต้องการและปัญหาและอุปสรรคที่พบในการส่งออกรวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง ผลการวิจัยพบว่ามีบริษัทที่ต้องการส่งมะม่วงนํ้าดอกไม้จำหน่ายประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมีเพียง 1 บริษัท โดยปริมาณที่ต้องการส่งออก คือ 100 ตันต่อปี ส่วนอีก 2 บริษัท สนใจที่จะส่งออกโดยมีปริมาณที่ต้องการส่งออก รายละ 50 ตัน ต่อปี โดยอีก 2 บริษัท ไม่ต้องการส่งออกแน่นอนเนื่องจากทำตลาดสินค้า ประเภทอื่น เช่นทุเรียน มังคุด มาตราฐานมะม่วงนํ้าดอกไม้ เพื่อการส่งออกไปประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จะใช้มาตรฐานเดียวกับที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น ได้แก่ มีการควบคุม คุณภาพการผลิต การเก็บเกี่ยว การแบ่งชั้นคุณภาพ ขนาดผล ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพและขนาด การบรรจุหีบห่อ เครื่องหมายบนบรรจุภัณฑ์ เกณฑ์สุขลักษณะ ราคามะม่วงนํ้าดอกไม้ที่ต้องการ มากที่สุด คือ กิโลกรัมละ 150-220 บาท รองลงมา คือ 80-120 บาท ปัญหาและอุปสรรคในการส่งออก คือต้องการให้ปรับปรุงขั้นตอนการส่งออกให้สะดวกขึ้น มีการสนับสนุนในเชิงรุก และลดการกีดกันจากภาครัฐของจีนนอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐช่วยสร้างความรู้จักในตัวสินค้าให้กับตลาดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้มากขึ้นอีกด้วยผู้สู้ส่งออกสินค้าทางการเกษตรไทยยังต้องการให้ภาครัฐปรับปรุงในเรื่อง มาตรฐานสินค้า โดยเฉพาะการให้ความรู้แก่ผู้แก่ผู้ส่งออกรายใหม่ในเรื่องของอายุการเก็บเกี่ยวส่วนในเรื่องของภาษีศุลกากร ผู้ส่งออกให้ภาครัฐช่วยเจรจาให้มณฑลต่างๆ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้อัตราภาษีศุลกากรอัตราเดียวกันทั้งประเทศ นอกจากนี้ในระบบตลาดผู้ส่งออกต้องการให้รัฐบาลเจรจาเปิดตลาดสินค้า ทางการเกษตรของไทยในระดับมณฑลต่างๆ ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนให้มากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7972 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License