Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7975
Title: | การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทการบินไทยจำกัด(มหาชน) |
Other Titles: | Study of customer satisfaction on using e-commerce services of Thai Airways International Public Co.Ltd. (Thai) |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง อังคณา จันทรสุนทรกุล, 2500- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม 10.14457/STOU.the.2004.169 |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ บริษัทการบินไทย การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์--ไทย |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างประเทศ 2) พฤติกรรมการใช้บริการของชาวไทยและชาวต่างประเทศ 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างประเทศในการใช้บริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างเป็นชาวไทย และชาวต่างประเทศจำนวนกลุ่มละ 200 คน รวมเป็น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for WINDOWS ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการชาวไทยและชาวต่างประเทศมีความพึงพอใจในด้านส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับสูง ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับปานกลางผู้ใช้บริการชาวไทยมีความพึงพอใจในด้าน ผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับสูง ส่วนผู้ใช้บริการที่เป็นชาวต่างประเทศมีความพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับปานกลาง 2) ชาวไทยและชาวต่างประเทศมีพฤติกรรมในการใช้บริการคือ นิยมใช้บริการที่บ้านเพื่อศึกษาสารสนเทศมากที่สุด ใช้บริการน้อยกว่า 1-1 ครั้งต่อเดือน โดยใช้ครั้งละประมาณ 30 นาที ทั้งนี้ชาวไทยเรียนรู้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของการบินไทยจากจากพนักงานบริษัทการบินไทย และคนรู้จัก ส่วนชาวต่างประเทศเรียนรู้จากการศึกษาด้วยตนเองทางอินเทอร์เน็ต 3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของชาวไทยและชาวต่างประเทศ คือ ชาวไทยส่วนใหญ่เสนอถึงปัญหาที่ประสบ คือ มีข้อจำกัดมากและไม่สามารถสอบถามจากพนักงานและข้อเสนอแนะ คือ ให้สำรองที่นั่งอย่างง่ายๆ ส่วนชาวต่างประเทศ คือ ไม่เชื่อว่าจะได้ราคาเท่ากับตัวแทนจำหน่าย ข้อเสนอแนะ คือ ให้ราคาที่ไม่แตกต่างกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7975 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License