Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/797
Title: | ปัญหากฎหมายว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง |
Other Titles: | Legal problems related to remedy and prevention of shortage of fuel oils |
Authors: | ภาณุมาศ ขัดเงางาม อำพล ปั้นม่วง, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จิราพร สุทันกิตร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ น้ำมันเชื้อเพลิง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ. |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการออกคำสั่งของนายกรัฐมนตรี กำหนดมาตรการ เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงกฎหมายการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของประเทศฟิลิปปินส์ และกฎหมายการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อนำผลการศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... เพื่อเป็นแนวทางพัฒนากฎหมายวาด้วยการแก้ไขและป้องกัน ภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารโดยทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก หนังสือ บทความ วารสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาหรือคำสั่งศาล ปกครองสูงสุด คำพิพากษาศาลฎีกา ทั้งในห้องสมุดรัฐสภา และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 มีความมุ่งหมายเพื่อจะรักษาไว้ ซึ่งความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ เหมือนกับรัฐกำหนดจัดสรรปันส่วน น้ำมันเชื้อเพลิง ค.ศ. 1973 ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยลักษณะของบทบัญญัติมาตรา 3 ของพระราชกำหนดนี้ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกคำสั่ง โดยมีขอบเขตอย่างกว้าง ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ และให้ใช้บังคับมีกำหนดหนึ่งปี เมื่อมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้บังคับได้ เช่นเดียวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายทั่วๆ ไป บทบัญญัติที่ไม่มีเกณฑ์หรือข้อจำกัดใดๆ ทำให้การออกคำสั่่งเพื่อกำหนดมาตรการ ซึ่งเป็นการกระทำทางปกครองประเภทออกกฎหรือตรากฎหมายลำดับรองสามารถกำหนดเงื่อนไขอย่างใดก็ได้ คือการให้คณะกรรมการมีอำนาจต่างๆ การตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ การห้ามร้านค้าจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และการปิดสถานบริการเพื่อประหยัดไฟฟ้า ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเป็นความผิดอาญาซึ่งศาลฎีกาลงโทษตามพระราชกำหนดนี้ด้วย ถึงแม้ว่า ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเห็นว่า คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2547 เรื่อง กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ลงวันที่ 23 ธันวาคม 2547 ที่ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราเงิน ส่งเข้ากองทุน หรือกำหนดอัตราเงินชดเชย อาจเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ก็ตาม เมื่อไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอนกฎฉบับนี้ และองค์กรผู้ทรงอำนาจก็ไม่มีการยกเลิกคำสั่งนี้ ดังนั้น ต้องถือว่าคำสั่งของนายกรัฐมนตรีดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายสามารถบังคับต่อเนื่องไปได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีก ผู้วิจัยจึงเสนอให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดนี้ และในร่างพระราชบัญญัติกองทุน น้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... คณะกรรมการควรจะมีอำนาจเฉพาะการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และ การสนับสนุนราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ ควรแยกเป็นกฎหมายเฉพาะเหมือนประเทศฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ ควรมีกฎหมายเฉพาะเหมือนประเทศญี่ปุ่น เพื่อประโยชน์ของรัฐ ประชาชน และผู้บริโภค |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/797 |
Appears in Collections: | Law-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib156537.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License